ข้อมูลที่ร่วมแบ่งปัน

ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วิธีเช็คลายขาดหรือic เสีย แบบง่ายๆ


วิธีการตรวจสอบลายในวงจรเบื้องต้นโดยใช้มิเตอร์แบบเข็ม ก็มีอยู่2วิธีครับ

1.1วัดจากความต้านทาน ก็มี2วิธีย่อยครับ

-วิธีที่1 วัดความต้านทานระหว่าง2จุด โดยอาศัยหลักการที่ว่าลายที่ต่อกันจะวัดความต้านทานได้0โอห์ม
วิธีวัด ตั้งมิเตอร์Rx1แล้ววัดคล่อมระหว่างจุดที่ในลายที่ต้องการตรวจสอบ อันนี้พื้นๆนะครับ ง่ายสุดแล้ว
ข้อดี วัดลายได้แม่นยำเพราะวัดกันตรงๆอยู่แล้ว
ข้อจำกัด ถ้าจะวัดจากลายใต้ขาไอซีจำพวกที่มีขาอยู่ข้างล่าง(พวก Ccont,UEM) ก็ต้องยกไอซีออกก่อน อันนี้จะลำบาก
ถ้าติดกาวก็เลิกทำเลย

-วิธีที่2 วัดความต้านทานของจุดใดจุดหนึ่งเทียบกราวด์ เป็นการวัดความต้านทานรวมในลายนั้นมายังจุดที่วัด
วิธีวัด ตั้งมิเตอร์Rx1k เข็มแดงจิ้มกราวด์เครื่องเข็มดำจิ้มจุดที่สงสัยหรือต้องการวัด บันทึกค่าไว้
จากนั้นสลับเข็มแล้ววัดกันอีกที แล้วนำค่ามาเปรียบเทียบกับที่วัดจากเครื่องดีว่าแตกต่างมากน้อยเพียงใด
ถ้าแตกต่างมากแสดงลายในจุดที่เราวัดมีปัญหาสักอย่างหนึ่งครับ
ข้อดี สามารถวัดและวิเคราะห์ในบางปัญหาในลายที่ผ่านได้โดยไม่ต้องยกอุปกรณ์นั้นออก โดยเฉพาะพวกที่มีขาใต้ไอซี
ข้อจำกัด ต้องวิเคราะห์ร่วมกับวิธีอื่นๆด้วย เพราะเป็นการบอกคร่าวๆว่าลายในวงจรนั้นมีปัญหา ถ้าในลายนั้นมีอุปกรณ์มากก็บำลากหน่อย
บางครั้งต้องใช้พื้นฐานความเข้าใจในการทำงานของอุปกรณ์พื้นฐานเช่นR,L,Cใน วงจรอยู่บ้าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ประกอบครับ
ปกติต้องมีเครื่องดีเป็นตัวคอยเปรียบเทียบครับ
ตัวอย่างครับ
การตรวจสอบไอซีคุมซิม (SIM ASIP)ในกรณีที่ขึ้นอาการ"ใส่ซิมการ์ดค้าง"
เรามาดูวงจรกันก่อนครับ ขอยกตัวอย่างในเครื่อง7260
http://img19.imageshack.us/img19/4723/7260simwayrh5.jpg
-ลายซิมประกอบด้วย3ลายหลักคือ Vsim,SIMRST,SIMCLK,SIMIO ซึ่งออกจากUEMไปยังซ็อกเก็ตซิม
-โดยที่ลาย3ตัวหลังผ่านไอซีคุมซิมR2700(เบอร์EMIF03-SIM01F2)โดยตรงครับ
วงจรข้างในตามรูปล่างครับ
http://img256.imageshack.us/img256/8037/simasiptq5.jpg
-ในR2700จะมีซีเนอร์ไดโอดที่ออกแบบมาสำหรับดักไฟกระชาก(ตัวหัวสามเหลี่ยมมี1ขีด)
ซึ่งมีbeak down voltageอยู่ที่ประมาณ6โวลย์ครับ หมายถึงว่าไฟที่ต่ำกว่า6โวลย์จะเข้าออกได้ตามสบายจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย ก็ได้ครับ
แต่ถ้าไฟมากกว่า6โวลย์มันก็จะยอมให้ไฟเข้าไปในวงจรแค่6โวลย์ครับ ที่เหลือจะระบายในรูปของกระแสไหลผ่านตัวมันลงกราวด์ครับ
โดยในแต่ละลายจะมี2ตัวคอยดักหน้าดักหลังครับ
-ไฟที่ใช้ป้อนให้ซิมทำงานมี2ระดับคือ1.8โวลย์กับ3โวลย์ขึ้นอยู่กับชนิดของซิมครับ ซึ่งไฟระดับนี้ซีเนอร์ไดโอดจะไม่ทำงานครับ
ดังนั้นสัญญาณไฟที่มาจากUEMจึงผ่านR2700ออกไปยังตัวอ่านซิมได้ตามปกติครับ
-นอกจากนี้ยัง มีตัวต้านทานR1,R2,R3 ซึ่งมีค่า47,100,47โอห์มตามลำดับต่อผ่านในแต่ละเส้น
ซึ่งตัวต้านทานเหล่านี้ออกแบบมาโดยจุดประสงค์หลักเพื่อลดทอนความแรงของไฟในกรณีที่มีไฟเกินเข้าครับ
ในกรณีที่ทำงานงานปกติ ไม่(ค่อย)มีผลแต่อย่างใด เพราะความต้านทานที่ตัวซิมสูงมากเป็นระดับหลายหมื่นโอห์มขึ้นไป
ทำให้โวลย์ตกคล่อมที่ตัวRเหล่านี้น้อยมากจนถือว่าไม่มีผลก็ได้ครับ
-ดังนั้นการต่อตรงจึงสามารถใช้งานได้ในสภาพเครื่องทำงานปกติ แต่ถ้ากรณีที่มีไฟกระชากเข้ามาจากตัวอ่านซิม
ก็จะไม่มีตัวใดๆคอยป้องกัน ไฟก็จะเข้าUEM ทำความเสียหายได้ครับ

ทีนี้แนวทางการวัด
-ถ้าวัดตรงอย่างวิธีแรกก็ต้องยกR2700ออกแล้ววัดลายแต่ละข้างครับ ซึ่งไม่เหมาะสม
-กรณีนี้จะใช้วิธีที่2ครับคือวัดเทียบกราวด์เอา ที่แต่ละขาครับ โดยตั้งRx1k
ขาSIMRST,SIMCLK,SIMIOจะได้ค่าความต้านทานเท่ากันหรือใกล้เคียงกันครับ(จากประสบการณ์และที่วัดมา)
โดยต้องวัดสลับกันด้วยนะครับ
-ที่เคยเจอจะเป็นบางลายเข็มจะไม่กระดิก สงสัยตัวต้านทานในR2700ลายนั้นคงขาดครับ
-วิธีนี้ก็สามารถนำมาตรวจสอบเบื้องต้นในกรณีที่เราต่อลายแล้วยังมีปัญหาอยู่ได้เหมือนกัน
หรือแยกแยะปัญหาที่เกิดจากsoftwareหรือhardwareในเครื่องบางรุ่นนะครับ
-ยังสามารถนำไปเช็คกับไอซีคุมปุ่มกด คุมไฟที่มีรูปร่างวงจรเหมือนกับลักษณะนี้ได้ทั้งหมดเลยครับ

1.2วัดจากระดับไฟ
การวัดว่าไอซีเสียหรือไม่ ส่วนมากเราดูหรือวัดจากการทำงานของมันครับ ว่าทำงานผิดเพี้ยนไหม
ซึ่งเราจะวัดไฟที่เข้า-ออกตัวมันเวลาที่ทำงานครับ จากต้นทางถึงปลายหรือจากปลายทางถึงต้นทางแล้วแต่กรณี
อุปกรณ์ประเภทไอซีทั่วไปเวลาทำงาน ก็อาศัยไฟดังนี้ครับ
-มีไฟจ่ายเข้าไปเลี้ยง
-มีไฟหรือสัญญาณควบคุมสั่งให้ทำงาน
-มีไฟหรือสัญญาณเข้ามา (Input)
-มีไฟหรือสัญญาณออก (Output)
ซึ่งไอซี1ตัวอาจจะมีไม่ครบทุกอย่างก็ได้แต่อย่างน้อยก็ควรมีไฟเลี้ยง ยกเว้นไอซีประเภทคุมซิม คุมปุ่มกด
โดยอันดับเบื้องต้นก็ต้องหาไฟเลี้ยงก่อนครับเพื่อทำการวัด
ดังนั้นถ้าเราต้องการวัดไอซีตัวใดเสีย เราก็ต้องรู้ว่าไอซีนั้นมีไฟอะไรบ้าง ออกมาเท่าไร ออกมาตอนไหน
ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเหมือนกันครับ บางตัวก็ต้องใช้ประสบการณ์เอาครับ ทำบ่อยแล้วจะรู้ว่าตัวนี้เสียแล้วเป็นอย่างไร
ข้อดี วัดได้แม่นยำเพราะถ้าปลายทางไฟมาตามสเปคก็แสดงว่าน่าไม่เสีย
ข้อจำกัด ต้องพอเข้าใจการทำงานของไอซีบ้างครับ
ถ้าเป็นวงจรที่ซับซ้อนก็ยังยากอยู่เหมือนกันครับ พวกUEM พวกนี้ต้องดูตามอาการแก้ตามอาการครับ
เป็นอาการไหน ก็เช็คตามอาการนั้นก่อน เพราะเป็นวงจรที่รวมเอาหลายวงจรมาอยู่ด้วยกันครับ

มาแก้3100/3120คลื่นหายกัน ของท่านพัด

อาการนี้จะต้องไม่โดนอะไรมาอยู่ดีๆก็เป็นนะครับวัดแล้วต้องออกครบหรือดูจากlinkนี้หากว่าโดนอย่างอื่นมาต้องไปดูนี่ก่อน
www.wintesla2003.com ถ้าวัดแล้วได้ตามนั้นมาดูที่นี่ต่อ

อันนี้จากการวิเคราะตามความคิดของผมเองนะครับ

ขั้นแรกถอดC ออกมาวัดก่อนครับ




ถอดออกมาใส่ขาเตรียมเสียบวัด(เครื่องวัดผมมันถูกครับแค่300เลยต้องถอดมาเสียบ)



ถ้าดูในวงตัวนี้ต้อง3.9n



วัดแล้วเสียครับ


เอาของดีมาวัดก่อนใส่



ใส่แล้วสังเกตผลการทดลอง



อีกจุดนึงที่สำคัญมากถ้าวัดCแล้วปรกติให้วัดที่R711 ไม่เกิน8.2K ohm นะครับส่วนมากเจอยืดไป8.3-8.4K ohm

ที่ จริงอาการนี้ไม่อยากแก้ครับเปลี่ยนRFดีๆก็ไม่หายเลยมานังวิเคราะเพื่อแก้ไข ความเบื่อหน่ายที่ลูกค้าชอบกลับมา(ไอ่ที่เขาไม่กลับมาก็มีแต่ไม่รู้ว่าเขา ไม่กลับมาเพราะซื้อไหม่หรือใช้ได้กันแน่อิอ
แต่ทำเสร็จผมเข้าตู้อบอีกที เผื่อบอดมันแครกนะครับ)รับรองได้ครับทดลองแล้วครับ3วันก่อนตั้งกระทู้ไม่มี การเปลี่ยนRFเครื่องอยู่ๆเป็นนะครับแต่ต้องวัดตามนี้ได้นะครับ www.wintesla2003.com ไม่งั้นที่เปลี่ยนไปไม่เกิดผลอิอิ

INFORMATION FOR NOKIA EMIF IC (ข้อมูลช่าง)

EMIF04-10006F2-mmc ic
EMIF04-MMC02F1-mmc ic
EMIF04-MMC02F2-mmc ic
EMIF04-MMC02F3-mmc ic
EMIF04-VIDO1F2-mmc ic
-------------------------------------------------------------------------
EMIF03-SIM01F2-nokia sim ic
EMIF03-SIM01-nokia sim ic
EMIF03-SIM02F2nokia sim ic
---------------------------------------------------------------------
EMIF02-MIC03F2
EMIF02-SPK01F2
EMIF02-USB02F2
EMIF02-USC2
--------------------------------------------------------------------
EMIF01-SMIC01F2-BB5 mic ic
EMIF01-TV03F1
EMIF02-MIC02F1
EMIF02-MIC02F2
-------------------------------------------------------------------
EMIF10-COM01F2-key and lcd ic
EMIF10-LCD01F2-key and lcd ic
EMIF10-LCD01F2-key and lcd ic
EMIF-10-1K010F1-key and lcd ic
EMIF-10-1K010F2-key and lcd ic
-------------------------------------------------------------------
BFG10X_4-NPN 2 GHz RF power transistor
bgf100- heandset mic ic
------------------------------------------------------------
LP2985-regulator
LP3928-regulator
LP3985-regulator
LP3987-regulator
LP3999-APE regulator N2401-of N70
---------------------------------------------------
ESDA14V2-4BF2-heandset ear ic
ESDA 18-1F2-charge in zener diode
---------------------------------------------------------------
LED driver

TK11850
TK11851
TK11855
TK65600-N2301 LED driver N70
--------------------------------------------------------------------------
TAHVO v4.1

6630,6680,6681,E50?,E60N70,N71,N90

TAHVO v5.2 LF

3110classic,3250,5200,5300,5500,6125,6126
6131,6133,6136,6151,6233,6234,6270,6280
6300,7370,7373,E62,E70,N72,N91,

Nokia PCB IC list / compatibility for BB5 phones

Nokia PCB IC list / compatibility for BB5 phones








หลักการทำงานของเครื่องตระกูล BB5

หลักการทำงานของเครื่องตระกูล BB5


มีรายละเอียดอะไรเพิ่มเติมอาทิเช่นอุปกรณ์แต่ละตัวทำหน้าที่อะไร จะนำเสนออีกครั้ง






หลักการทำงานของเครื่อง NOKIA ตระกูล BB5
หลักการทำงานในเครื่อง NOKIA ตระกรูล BB5 จะทำงานคล้ายๆกัน กับตระกรูล WD2 ถ้าเราเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องจะทำให้เราวิเคราะห์อาการเสียได้ง่าย ขึ้น
ที่นี้เรามาดูระบบการทำงานในเครื่องตระกรูล BB5 กันก่อน ปกติเครื่อง BB5 จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
เครื่องตระกรูล BB5 ที่ทำงานร่วมกับระบบ ซิมเบี้ยน เช่น 6630,6680,N70 เป็นต้น
เครื่องตระกรูล BB5 ที่ไม่ได้ทำงานร่วมกับระบบ ซิมเบี้ยน เช่น 6270,6280 เป็นต้น

ผมจะอธิบายระบบการทำงานในเครื่องที่ทำงานร่วมกับระบบซิมเบี้ยนก่อน ซึ่งจะแบ่งได้ดังนี้
NOS เป็นระบบปฎิบัติการ ของ NOKIA ซึ่งจะทำงานในส่วนของการเปิดปิดเครื่องทั้งหมด เมนู ปุ่มกด ภาษาต่างๆ เป็นต้น เช่นเมื่อเราเปิดเครื่องแล้วมีรูปมือจับกัน
นั่นก็คือระบบNOS กำลังทำงานอยู่ ระบบนี้ตัวที่ควบคุมการทำงานก็คือ RAP 3G,NorFlash,SDram ส่วนนี้เราจะเรียกว่า CMT
EPOC เป็นระบบปฎิบัติการของ Sysbian OS ซึ่งจะทำงานในส่วนของ Application ในเครื่องเช่นโปรแกรมที่เราลงเสริมลงไปในตัวเครื่อง เช่น เกมส์ ทีมส์ เป็นต้น
ระบบนี้ควบคุมการทำงานโดย OMAP ,COMBO ส่วนนี้เราจะเรียกว่า APE
ทั้ง 2 ระบบปฎิบัติการนี้ส่วนมากจะทำงานอย่างอิสระ แต่อะไหล่บางตัวที่ใช้ร่วมกัน ทีนี้เรามาดูก่อนว่า IC แต่ละตัว ถ้าจะทำงานได้ต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้าง
RETU เป็น ตัวจ่ายไฟให้ IC ตัวอื่นๆ ควบคุมระบบการชาร์ทในส่วนของการรับรู้ว่าเสียบสายชาร์ทหรือยัง,ควบคุมซิ มการ์ด,ระบบสั่น,ระบบเสียงลำโพง ไมล์ กระดิ่ง
ตัวมันจะทำงานได้ต้องมีส่วนประกอบดังนี้ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
1. ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ ประมาณ 3.7 V
2. สวิชย์+ลายวงจรเปิดเครื่อง Pwronx
3. ตัวสร้างความถี่ 32.768 Khz ( เพื่อสร้างความถี่ Sleepclk 32.768 Khz)

TAHVO เป็นตัวจ่ายไฟประเภทหนึ่งทำหน้าที่จ่ายไฟ Vcore ให้กับ RAP3G ,ควบคุมระบบการชาร์จ,เป็นตัวเปิดปิดคำสั่งสำหรับไฟหน้าจอ ไฟคีย์กด
เป็นตัวควบคุมชุด connect Flash Interface ตัวมันเองจะทำงานได้ต้องมีส่วนประกอบดังนี้
1. ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ประมาณ 3.7 V
2. คำสั่งเปิดให้ตัว TAHVO ทำงาน( Enable) มีไฟออกมาด้วยประมาณ 3.7 V ที่มาจาก RETU
3. ไฟเลี้ยง VIO 1.8 V ที่มาจาก RETU
4. คำสั่งเปิดเครื่อง PURX มีไฟออกมาด้วยประมาณ 1.8 V ที่มาจาก RETU
5. สัญญาณนาฬิกา Sleepclk 32.768 Khz ที่มาจากตัว RETU
6. สัญญาณนาฬิกา SMPSCLK 2.4 Mhz ที่มาจาก RAP3G

RAP3G ทำหน้าที่ประมวลผลการทำงานในส่วนของ NOS หรือ CMT ทำงานร่วมกับ NorFlash , SDRAM ตัวมันเองจะทำงานได้ต้องมีส่วนประกอบดังนี้
1.ไฟเลี้ยงหลัก VIO 1.8 V ที่มาจาก RETU
2.ไฟเลี้ยง Vcore 1.4 V ที่มาจาก TAHVO
3. สัญญาณนาฬิกา Sleppclk 32.768 Khz ที่มาจาก RETU
4. คำสั่งเปิดเครื่อง PURX มีไฟออกมาด้วยประมาณ 1.8 V ที่มาจาก RETU
5. สัญญาณนาฬิกาหลัก RFCLK 38.4 Mhz ที่มาจาก HINKU

NORFLASH ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหลักในตัวเครื่อง ในส่วนของ NOS เช่น เวอร์ชั่นในตัวเครื่อง ไฟล์ภาษา เป็นต้น ทำงานร่วมกับ SDRAM , RAP3G
ตัวมันเองจะทำงานได้ต้องมีส่วนประกอบดังนี้
1.ไฟเลี้ยงหลัก VIO 1.8 V ที่มาจาก RETU
SDRAM ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลย่อย ทำงานร่วมกับ RAP3G, NORFLASH ตัวมันเองจะทำงานได้จะต้องมีส่วนประกอบดังนี้
1. ไฟเลี้ยงหลัก VIO 1.8 V ที่มาจาก RETU
2. ไฟเลี้ยง VDRAM 1.8 V ที่มาจาก RETU

OMAP ทำ หน้าที่ในส่วนของการประมวลผล ในส่วนของ ระบบบันเทิงต่าง เช่นกล้อง หน้าจอ คีย์กด MMC และระบบ Application ในส่วนของโปรแกรมที่เกี่ยวกับ ซิมเบี้ยน หรือ APE
ตัวมันเองจะทำงานได้จะต้องมีส่วนประกอบดังนี้
1.ไฟเลี้ยง VIO 1.8 V ที่มาจาก RETU
2.ไฟเลี้ยง VcoreA 1.4 V ที่มาจาก SMPS ( N4200 )
3.คำสั่งเปิดเครื่อง PURX มีไฟออกมาด้วยประมาณ 1.8 V ที่มาจาก RETU
4.สัญญาณนาฬิกา Sleepclk 32.768 Khz ที่มาจาก RETU
5.สัญญาณนาฬิกา SYSCLK 19.2 Mhz ที่มาจาก RAP3G

COMBO ( NANDFLASH+DDRRAM ) ทำหน้าที่ร่วมกับ OMAP ส่วนใหญ่เก็บข้อมูลในส่วน ของ APE และเก็บข้อมูลบางส่วนของ CMT ตัวมันเองจะทำงานได้ต้องมีส่วนประกอบดังนี้
1.ไฟเลี้ยงหลัก VIO 1.8 V ที่มาจาก RETU
2.ไฟเลี้ยง Vddr_ape 1.8 V ที่มาจากตัว N4201

SMPS (N4200) ทำ หน้าที่ในการทำงานคือ เป็นตัวควบคุมให้แรงดันไฟให้คงที่ กับ CPU ไฟที่ออกมาก็คือ ไฟ VcoreA ไปให้ OMAP ตัวมันเองจะทำงานได้จะต้องมีส่วนประกอบดังนี้
1.ไฟเลี้ยงที่มาจากแบตเตอรี่ ประมาณ 3.7 V
2.ชุดคำสั่งเปิดการทำงาน (Enable) RSTX ประมาณ 3.7 V ที่มาจาก RETU
3.สัญญาณนาฬิกา Clock 600 Khz ที่มาจาก TAHVO
4. คำสั่งลดแรงดันไฟ Ape_SleepX 1.8 V ( ไม่มีส่วนกับการให้ตัว SMPS ทำงาน แต่มีส่วนเพื่อลดแรงดันไฟ เมื่อเครื่องอยู่ใน Sleepmode)

VCTCXO 38.4 Mhz เป็นตัวผลิตความถี่เพื่อใช้เลี้ยงระบบการทำงานของเครื่อง โดยความถี่ที่ได้คือ 38.4 Mhz ตัวมันเองจะทำงานได้จะต้องมีส่วนประกอบดังนี้
1. ไฟเลี้ยงหลัก VR 1 2.5 V ที่มาจาก RETU
HINKU เป็น ตัวที่คอยทำหน้าที่ ปรับแต่งสัญญาณและขยายสัญญาณ 38.4 Mhz ที่มาจากตัว VCTCXO 38.4 เพื่อเป็นสัญญาณนาฬิกาตัวใหม่คือ RFCLK 38.4 Mhz
แล้วส่งต่อไปให้ RAP3G อีกทีหนึ่ง



ขออนุญาตท่าน bamboo ด้วยนะครับ
ขออ้างอิงลำดับการจ่ายไฟของเครื่องBB5ในรูปต่อไปนี้นะครับ


ลำดับการทำงานของเครื่องBB5ในเสี้ยววินาทีที่เรากดปุ่มเปิดเครื่องเป็นอย่างนี้ครับ
1.ปกติไฟจากแบตเตอรี่(VBAT)จะวิ่งไปรออยู่ที่ Retu , Tahvo , SMPS , Hinku ,Vinku และ Regulator IC ต่างๆ
2.เรากดปุ่มเปิดเครื่อง Retuทำการจ่ายไฟ VANA , VIO , VR1 , VDRAM และ Sleep clock 32kHz ออกมา
3.ในขณะเดียวกัน Retu จะทำการจ่ายไฟ RSTX 4V ไปยังTahvo
4.เมื่อTahvo มีไฟจากแบตเตอรี่มาเลี้ยง และได้ไฟ RSTX (enable) จาก Retu มาสั่งให้ Tahvo ทำงาน
5.Tahvoจะทำการจ่าย Vcoreให้ RAP-3G และสร้างสัญญาณนาฬิกา 600kHzขึ้นมาใช้เองก่อน (เน้นนะครับTahvoสร้างเอง)
6.เมื่อVCTCXO(G7501)ได้ไฟเลี้ยง VR1จากRetu จะทำการผลิตRF Clock 38.4MHz ผ่าน Hinkuเพื่อปรับแต่งและขยายสัญาณ
7.Retuจะปล่อยสัญญาณ PURX ไปยัง Tahvo , RAP-3G , OMAP เพื่อทำสั่งให้เริ่มทำงาน(enable) ในส่วนที่เหลือ
8.เมื่อRAP-3Gได้ PURX จาก Retuมาจะทำการหารสัญญาณนาฬิกา 38.4MHz เหลือ 2.4MHzเป็นSMP clock ส่งให้Tahvoต่อ
9.เมื่อTahvoได้รับ PURX จากRetuและสัญญาณ 2.4MHzจากRAP-3Gแล้ว จะทำการหยุดผลิตสัญญาณ600kHzที่สร้างขึ้นเองภายใน
และทำการผลิตสัญญาณ600kHzขึ้นมาใหม่โดยใช้สัญญาณ2.4MHzจากRAP-3Gเป็นสัญญาณอ้างอิงแทน

ขอวิเคราะห์ในส่วนของ Vcore อย่างเดียว (ตามความเข้าใจผมนะครับ)
1.ตามลำดับการทำงานข้างต้น Vcore จะทำงานได้ต้องได้ไฟ 2 ตัวคือ
- ไฟ VBAT จากแบตเตอรี่
- ไฟ RSTX จากRetu (สังเกตุได้ว่าไฟRSTX จะขึ้นทันทีเมื่อกดสวิทย์เปิดเครื่อง นั่นคือTahvoจะทำงานพร้อมกับRetu)
2.ดังนั้นเมื่อไฟ Vcore ออกมาต่ำมากหรือไม่ออก ให้วัดไฟหรือลายดังจุดต่อไปนี้ที่Tahvo
2.1 ลายไฟจาก Vbat มายังขา A6 , A7 (VBAT1)ของTahvo (เช็คลายและL2301ด้วย)
2.2 ลายไฟ RSTXจากRetu มาที่ขาB3ของTahvo
2.3 ลายไฟVcoreออกจากTahvoที่ขา A5 , B6 ,B4 ตามรูปครับ
ลายVcoreถ้ายกTahvoให้ลองวัดเทียบกราวด์ด้วยเผื่อลายซ็อตลงกราวด์

ลองดูครับ Smiley ถ้าผิดพลาดประการขออภัยด้วยเหมือนกันนะครับ

อาการเครื่องกินกระแสผิดปกติ

อาการเครื่องกินกระแสผิดปกติ

ข้อ สังเกตุ : อุปกรณ์หลักๆที่ได้รัับการจ่ายไฟจาก POWER SUPPLY ไม่ว่าจะเป็น PA หลอดไฟ LED กระดิ่ง มอเตอร์สั่นและ CCONT ต่อเชื่อมกันครบแต่เมื่อจ่ายไฟเข้าไปแล้ว ถ้าชุดจ่ายไฟตัดทันที กระแสลงที่ 0V แรงดันไฟลง 0Vทันทีแสดงว่าต้องมีการชอร์ตเกิดขึ้นแต่อุปกรณ์ตัวใหนชอร์ตต้องมาดและทำตาม ในลำดับต่อไปนี้

ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ : ให้ลองยก L513 ออกดูตามไดอะแกรมสังเกตว่าเมื่อยก L513 ออกจะเห็นว่ามีไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายจ่ายให้กับ PA อย่างเดียวซึ่งไฟเลี้ยง PA จะมี 2 เส้นคือไฟเลี้ยงวงจรขยายกำลังส่ง GSM และวงจรขยายกำลังส่ง PCN หรือระบบ 1800 เมื่อยก L513 ออกแล้วลองจ่ายไฟเข้าเครื่องู ถ้าเพาเวอร์ซัพพลายกระแสและแรงดันลงที่ 0 ทันที แสดงว่า PA เสียหรือชอร์ตก็ให้ยก PA ออกจากบอร์ดแล้วลองจ่ายไฟเข้าไปใหม่อีกครั้ง ถ้าชุดจ่ายไฟไม่ตัดก็สรุปว่า PA ที่เรายกเสียจริงๆ แต่ถ้ายก PA แล้วเพาเวอร์ซัพพลายไม่ตัดแต่มีการกินกระแสมากกว่าปกติ ก็ต้องเช็ค C หรือคอนเดนเซอร์ที่มีไฟ VBATT หรือไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายจ่ายผ่าน(ดูลายละเอียดในลายวงจรจริงหรือ Schmatics) ซึ่ง C เหล่านี้ทำหน้าที่กรองแรงดันไฟให้เรียบ อาจจะชอร์ต แต่ถ้าเช็ค C ทั้งหมดแล้วไม่ชอร์ตก็อาจจะเป็นเพราะลายวงจรระหว่างขั้วบวกและลบชอร์ตกันภาย ในเลเยอร์(เลเยอร์คือชั้นของแผงวงจรถ้ามองด้านตัดหรือด้านข้างจะมีชั้นของ แผงวงจรวางซ้อนกันอยู่หลายชั้นซึ่งด้านในจะมีลายทองแดงเชื่อมโยงมากมาย ระหว่างด้านหน้าและด้านหลังบอร์ด)และถ้าพบอาการแบบนี้ค่อนข้างจะซ่อมยาก เพราะชอร์ตกันในเลเยอร์แต่ถ้ายกแล้วไม่ชอร์ตกระแสปกติให้ทำขั้นตอนต่อไปนี้

ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ : ให้วาง L513 กลับไปเหมือนเดิมแล้วยก L201 ขึ้น ใช้เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟเข้าเครื่องอีกครั้งสังเกตการกินกระแสของชุดจ่ายไฟ ถ้ากระแสปกติก็สรุปว่า PA ซึ่งก่อนหน้านี้ทดสอบไปได้แล้วปกติและมีอีกตัวหนึ่งคือ ไอซีชาร์จหรือ CHAPS (ดูตามลูกศรสีเหลืองชี้) ก็ปกติเพราะในรูปจะมีอุปกรณ์ที่มีผลกับ แบตเตอรี่หรือเพาเวอร์ซัพพลายคือ PA และไอซีชาร์จเท่านั้น แต่ถ้าจ่ายไฟแล้วมีการกินกระแสที่ผิดปกติก็ให้วิเคราะห์ตามนี้ ว่าก่อนหน้านี้เราได้ทดสอบ PA แล้วและ PA ก็ปกติก็แสดงว่าไอซีชาร์จมีปัญหาเพียงตัวเดียวก็ต้องลองยกไอซีชาร์จดู แต่ก็ต้องเช็คอุปกรณ์รอบข้างของ ไอซีชาร์จด้วยไม่ว่าจะเป็นตัวต้านทานหรือ คอนเดนเซอร์ แต่ถ้ายก L201 แล้วกระแสปกติให้ดูขั้นตอนต่อไป

ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ : วาง L201 กลับไปตามเดิมแล้วลองวิเคราะห์อาการทั้งหมดดูตามไดอะแกรม (จุดที่ 4) จะสังเกตว่าไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายจ่ายผ่าน L513 และ L201 จ่ายให้กับหลอดไฟ LED กระดิ่ง มอเตอร์สั่นสะเทือน UI SWITCH และที่สำคัญที่สุดคือ CCONT สำหรับกระดิ่งและมอเตอร์สั่นตัดประเด็นไปได้เพราะเวลาถอดแผงวงจรออกมาซ่อม อุปกรณ์ 2 ตัวนี้จะอยู่ด้านนอกของแผงวงจรหรือกรอบหลัง ก็จะมีอุปกรณ์ที่ติดอยู่บนแผงวงจรหลักที่เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟให้โดยตรง (ไฟ VB) ก็คือหลอดไฟ LED UI SWITCH และ CCONT ดังนั้นแนวทางการวิเคราะห์เพื่อให้ประหยัดและถูกต้อง ก็คงต้องวัดหลอดไฟ LED ก่อนโดยใช้มิเตอร์เข็มวัดที่ขั้ว บวกและลบของหลอดไฟถ้าหลอดไฟไม่ชอร์ตจะต้องติดทุกดวง หลอดไฟจะมี 2ชุดแยกกันทำงานอิสระคือไฟที่ให้แสงสว่างแก่จอ และ ไฟที่ให้แสงสว่างแก่ปุ่มกด ถ้าเช็คแล้วปกติก็จะมีอุปกรณ์หลักแค่ 2 ตัวเท่านั้นคือ UI SWITCH และ CCONT ก็ลองมาวิเคราะห์ดูกันทีละตัว โดยปกติ UI SWITCH มักจะชอร์ตโดยหลอดไฟติดขึ้นมาเอง หรือ กระดิ่งดังขึ้นมาเอง หรือมอเตอร์สั่นขึ้นมาเอง ส่วน CCONT จะชอร์ตในส่วนของการเปิดเครื่องหรือไฟที่ออกจาก CCONT ไปเลี้ยงภาคต่างๆ ถ้าจะให้สรุปง่ายที่สุดก็ต้องยกตัวที่ยกและวางง่ายที่สุด คือ UI SWITCH เพราะว่าถ้า UI SWITCH เสียเมื่อยกแล้วอุปกรณ์ตัวอื่นที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดไม่ชอร์ต เครื่องจะต้องเปิดติด เพียงแต่ไฟ LED ไม่ติดและมอเตอร์กับกระดิ่งไม่ทำงานนอกนั้นทุกส่วนก็ยังทำงานปกติ แต่ถ้ายก CCONT ก่อนถ้า UI SWITCH ชอร์ตหรือเสียก็ต้องยก UI SWITCH อีกครั้งอยู่ดี ลองวิเคราะห์อาการดู !

หมายเหตุ : ถ้าเช็คในส่วนของการกินกระแสเมื่อ CCONT จ่ายไฟออกไปแล้วให้เช็คที่ Trouble Shooting

3310 เครื่องเปิดไม่ติด

เครื่องเปิดไม่ติด

เกริ่นนำ ...

ทีี่ แรกว่าจะไม่ทำบทความนี้ขึ้นมาแล้ว แต่เห็นว่ายังมีคำถามหลายครั้งเกี่ยวกับอาการเปิดเครื่องไม่ติดสำหรับรุ่น 3310 ซึ่งเป็นรุ่นยอดนิยมที่สุดและมีผู้ใช้มากที่สุดปัจจุบัน ทั้งๆที่มี จอสีรุ่นใหม่ๆเข้ามามากมายจนนับรุ่นแทบไม่ทัน ดังนั้นผมจึงจัดทำรายละเอียดและวิธีวัดอย่างชัดเจนในขั้นตอนต่างดังต่อไปนี้

เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการซ่อม

  • จิ๊กเทสต์ (Jig Test)
  • มิเตอร์ดิจิตอล
  • เพาเวอร์ซัพพลาย
  • PC สโคป

เริ่มขั้นตอนการวัดและตรวจเช็ค

1. ตรวจสอบอาการเปิดไม่ติดในเบื้องต้นโดยไม่ต้องขันสกรูออกจากตัวเครื่อง โดยใช้สายคีบ ขั้วบวก(ขา1) ขั้ว BSI (ขา2) และขั้วลบ (ขา 4) แต่ถ้าเครื่องกินกระแสผิดปกติไม่ว่าจะเปิดเครื่องติดหรือไม่ติด ให้เข้าไปดูวิธีแก้ปัญหา เครื่องกินกระแสผิดปกติ

Tips : ขณะ ที่คีบขั้วบวก BSI และขั้วลบ ให้ระวัง ขาแต่ละขาอาจชอร์ตกันโดยเฉพาะ ขาบวก (ขา1) และ BSI (ขา2) ซึ่งอยู่ติดกันมาก ควรใช้เพาเวอร์ซัพพลายหรือชุดจ่ายไฟที่มีวงจรป้องกันการลัดวงจร (Protect Circuit)
แนวการวิเคราะห์ : ถ้ากระแสไม่มีการเปลี่ยนแปลงแสดงว่าไฟที่ป้อนจ่ายให้กับ CCONT น่าจะปกติ แต่นี่เป็นการวิเคราะห์คร่าวๆ

2. ทดลองกด สวิทช์เปิดเครื่องที่ด้านบน แล้วสังเกตว่าเครื่องเปิดติดหรือไม่ และอีกจุดสำคัญที่ต้องสังเกต ก็คือ เพาเวอร์ซัพพลายที่ด้าน "กระแส" ดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขของกระแสหรือไม่

แนวการวิเคราะห์ : ถ้า กดเปิดเครื่องแล้วกระแสปกติ คือ "0.00" แต่เครื่องเปิดไม่ติด ก็ต้องถอดสกรู แกะแผงวงจรออกมาวิเคราะห์ แต่ถ้าเครื่องเปิดติดเมื่อใช้สายจากซัพพลาย แต่ใช้แบตเตอรี่เปิดไม่ติด ให้ตรวจสอบว่าแบตเตอรี่ผิดปกติหรือไม่ แต่ถ้าแบตเตอรี่ก้อนที่นำมาทดลอง ไปเปิดกับเครื่องอื่นแล้วเปิดติด ให้ลองทำการ Run : EMC หรือ Energy Management Calibration ใน วินเทสล่า ดูก่อน

3. ขั้น ตอนต่อไปนี้เป็นขั้นตอนของการถอดสกรูออกจากตัวเครื่องและนำแผงวงจรไปวิ เคราะห์บนจิ๊กเทสต์ ให้วางแผงวงจรและล๊อกขาให้แน่น ส่วนขาที่ล๊อคด้านล่างยังไม่จำเป็นต้องล๊อคก่อนเพราะมีหลายๆจุดตรงบริเวณ ด้านล่างแผงวงจรเป็นพื้นที่ๆต้องวัดแรงดันไฟ ให้จ่ายแรงดันไฟ 3.6 -3.8 โวลท์ จากเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับขั้วบวกและลบของจิ๊กเทสต์โดยใช้ปากคีบ ลองวัดไฟบวก ที่บริเวณ X203 หรือที่หน้าสัมผัสขั้วบวก จะต้องได้แรงดันไฟเท่ากับเพาเวอร์ซัพพลาย

แนวการวิเคราะห์ : ถ้า วัดที่จุดนี้แล้วไม่มีไฟจากขั้วบวก (เลข 1 และ 2) ให้เช็คเข็มที่จิ๊กเทสต์(เลข 3) และแผงวงจรด้านหน้า (ด้านปุ่มกด) ตรงบริเวณรูตาไก่ (เลข 4) ซึ่งจะตรงกันโดยเฉพาะเครื่องที่ถูกน้ำรูตาไก่ตรงจุดนี้มักจะขาดทำให้ไฟบวก ที่ผ่านเข็ม จากจิ๊กเทสต์ มาไม่ถึง ขั้วบวกที่ X203 (เลข 5) วิธีการแก้ไขให้ใช้มีดขูดบริเวณขั้วบวกให้เห็นลายทองแดง (A) แล้วบัดกรีเข้ากับสายเส้นเล็กที่มีปากคีบ (ห้ามบัดกรีบริเวณขั้วบวกที่เป็นทองแดงโดยเด็ดขาด) แล้วนำปากคีบไปคีบบริเวณขั้วบวกสำหรับจุดจ่ายไฟเข้าจากเพาเวอร์ซัพพลาย (B) จุดประสงค์ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะว่าต้องการให้ไฟจาก เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายให้กับขั้วบวกให้ได้ เพื่อที่จะทำการวัดไฟในลำดับต่อไป

4. หลัง จากที่จ่ายไฟและทดสอบว่ามีไฟจากเพาเวอร์ซัพพลาย หรือ VBATT จ่ายให้กับ ขั้วบวกที่ X203 เป็นที่เรียบร้อย ให้ทำการวัดไฟที่จ่ายผ่าน L513 และ L201 ซึ่งเรียกว่าไฟ VB (ไฟ VBATT ที่มาจากเพาเวอร์ซัพพลายหรือแบตเตอรี่เมื่อผ่าน L513 และ L201 จะมีชื่อเรียกใหม่ว่า VB) และไฟ VB จะต้องจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ดังนี้ คือ กระดิ่ง มอเตอร์สั่น หลอด LED ชุดบน และล่าง ขาที่1 ของไอซี UI SWITCH และที่สำคัญที่สุดคือ CCONT (ดูรูปจุดที่ไฟVB จ่ายไปถึง)

แนวการวิเคราะห์ : ถ้า ไฟ VB ไปไม่ถึงอุปกรณ์ตามที่กำหนด ให้เช็คตั้งแต่ขั้วบวก บริเวณ X203 ไปยัง L513 และจาก L513 ไปยัง L201 และจาก L201 ไปยัง หน้าสัมผัสของ VB ทั้งหมด แต่ที่สำคัญที่สุดถ้า VB ไปไม่ถึง CCONT เครื่องเปิดไม่้ติดแน่นอน แต่ถ้า VB ไปไม่ถึง กระดิ่ง มอเตอร์สั่น หลอดไฟ LED หรือ UI SWITCH แ่่ต่ไปถึง CCONT บางทีเครื่องเปิดติดแต่กระดิ่ง มอเตอร์สั่น หรือหลอด LED ไม่ทำงาน และถ้าจุดใดจุดหนึ่งที่กล่าวมาแล้วขาดให้ใช้ลวดอาบน้ำยาเชื่อมต่อจุดที่ขาด

5. จุด นี้เป็นจุดที่สำคัญเพราะ เมื่อไฟที่ไปเลี้ยง CCONT แล้ว ภายใน CCONT จะจ่ายแรงดันไฟออกจากขา E4 (Pwronx) ผ่าน R224 และ R402 ไปยังสวิทช์ และให้วัดแรงดันไฟที่ไปถึงสวิทช์ที่ขาสวิทช์ด้านล่างขาใดขาหนึ่งก็ได้ ซึ่งจะต้องได้น้อยกว่าแรงดันไฟจาก VBATT นิดหน่อย และลองกดสวิทช์เปิดเครื่องสั้นๆดู ให้สังเกตว่าแรงดันไฟที่วัดได้จากมิเตอร์ตกลงไปที่ "0 โวลท์ "ชั่วขณะ หรือไม่

แนวการวิเคราะห์ : ถ้า กดสวิทช์แล้ว ที่มิเตอร์ไม่ลง "0 โวลท์ " ชั่วขณะหรือไม่้ตอบสนองแรงดันไฟใดๆ ให้เช็คสวิทช์ว่าเสียหรือไม่ และถ้าเช็คสวิทช์แล้วปกติ แต่แรงดันไฟไม่ลงไปที่ "0 โวลท์ "ชั่วขณะ ให้เช็คลายวงจรจาก สวิทช์ ไปยัง R402 (100 โอมห์) และจาก R402 ไปยัง R224 (10 K) (ดูรูป) ถ้าลายไม่ขาด สรุปว่า CCONT เสีย แต่ถ้าจำเป็นต้องยก CCONT ก่อนจะวางตัวใหม่วัดลายวงจรจาก ขา E4 ของ CCONT บนแผงวงจรไปยัง R224 ให้แน่นอนก่อนว่าไม่ขาด (ดูรูป) เพราะถ้าลายวงจรที่ขา E4 วัดแล้วไปไม่ถึง R224 เปลี่ยน CCONT ตัวใหม่ไปก็ไม่มีประโยชน์และอีกจุดที่สำคัญก็คือไฟ VB ที่เข้าไปขา CCONT ทุกขาต้องเชื่อมต่อถึงกันหมด ให้วัดให้แน่นอนก่อนที่จะวาง CCONT ตัวใหม

6. เมื่อ เช็คแล้ว สวิทช์ และ CCONT ทำงานได้ตามปกติในส่วนของการเปิดเครื่องลำดับต่อไปต้องเช็คว่า CCONT สามารถจ่ายแรงดันไฟไปเลี้ยงอุปกรณ์ต่างๆ ในภาคเบสแบนด์ (ฺBaseband) ซึ่งมีอุปกรณ์หลักๆ ดังต่อไปนี้ คือ

  • CPU ไฟ VBB (2.8 โวลท์) และ VCORE (1.9 โวลท์)
  • COBBA ไฟ VBB (2.8 โวลท์) VCOBBA (2.8 โวลท์) และ VREF (1.5 โวลท์)
  • FLASH ไฟ VBB (2.8 โวลท์)
  • SRAM ไฟ VBB (2.8 โวลท์)
  • จอ LCD ไฟ VBB (2.8 โวลท์)
  • UI SWITCH ไฟ VBB (2.8 โวลท์)
  • 26 MHz ไฟ VTCXO หรือ VXO (2.7 โวลท์)

เริ่ม เข้าสู่การวัดแรงดันไฟที่ออกมาจาก CCONT ให้กดสวิทช์เปิดเครื่อง เหมือนตอนเปิดเครื่องจริงๆ คือกดแช่ไว้ชั่วขณะ แล้วใช้มิเตอร์วัดที่จุดต่างๆ ถ้าวัดแล้วไฟไม่ออก ให้กดสวิทช์เปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อ Reset Ccont โดยปกติถ้าเครื่องเปิดไม่ติด หลังจากกดสวิทช์เปิดเครื่องแล้ว Ccont จะหยุดจ่ายไฟภายใน 15 วินาทีี้

ไฟ VBB (ลูกศรสีแดง)
วัดไฟที่ C119
วัดไฟที่ C209 C211
วัดไฟที่ C306
วัดไฟที่ C311
วัดไฟที่ C313
วัดไฟที่ C315
วัดไฟที่ C317
วัดไฟที่ C318

ดูรูปตำแหน่งไฟ VBB (ลูกศรสีแดง) รูปใหญ่ แนะนำให้ COPY แล้วดูกับ ACDsee

ไฟ VCORE (ลูกศรสีเขียว)
วัดไฟที่ L200
วัดไฟที่ C213 C214
วัดไฟที่ C223
วัดไฟที่ C305
วัดไฟที่ C306
วัดไฟที่ C308

ดูตำแหน่งไฟ VCORE ( ลูกศรสีเขียว) รูปใหญ่

ไฟ VCOBBA (ลูกศรสีน้ำเงิน)
วัดไฟที่ C109
วัดไฟที่ C116
วัดไฟที่ C117
วัดไฟที่ C207 C208

ดูรูปตำแหน่งไฟ VCOBBA (ลูกศรสีน้ำเงิน) รูปใหญ่

ไฟ VREF (ลูกศรสีเหลือง)
วัดไฟที่ C109
วัดไฟที่ C210

ดููรูปตำแหน่งไฟ VREF (ลูกศรสีเหลือง) รูปใหญ่

ไฟ VTCXO หรือ VXO

ดูรูปตำแหน่งไฟ VTCXO หรือ VXO (ลูกศรสีม่วง) รูปใหญ่

แนวการวิเคราะห์ : จาก การวัดไฟที่ออกจาก CCONT ทุกจุดที่ผ่านมาถ้าวัดได้ตามปกติหรือใกล้เคียงกับค่าที่กำหนดก็ให้วัดจุด อื่นต่อไปเลย แต่ถ้าวัดแล้วไม่ได้ตามที่กำหนด หรือ CCONT ไม่จ่ายไฟออกมาเลย หรือจ่ายไฟไม่ครบตามที่กำหนด หรือจ่ายไฟน้อยกว่าหรือมากกว่าตามที่กำหนด หรือขณะที่กดเพาเวอร์เปิดเครื่องมีไฟออกมาแต่พอหยุดกด ไฟหายทันที สรุปว่า CCONT เสีย แต่เพื่อความมั่นใจก่อนยกวางตัวใหม่ให้เป่า ย้ำที่ CCONT แล้วลองวัดไฟใหม่อีกครั้งถ้าไม่ได้ตามที่กำหนดให้ยก CCONT ออกแล้ววัดลายไฟทุกจุดที่ออกจาก CCONT และถ้าวัดแล้วลายวงจรไม่ขาดก็ให้วาง CCONT ตัวใหม่ และอย่าลืม ! Run : EMC หรือ Energy Management Calibration ทุกๆครั้งที่เปลี่ยน CCONT

7. เช็คไฟ VSRM ที่ขั้ว บวก ของ C219

วัดไฟที่ C219
แนวการวิเคราะห์ : ถ้า หากวัดที่จุดนี้แล้วไฟไม่ออกตามที่กำหนดหรือไม่มีไฟเลย สรุปว่า CCONT เสีย แต่เพื่อความมั่นใจก่อนยกวางตัวใหม่ให้เป่า ย้ำที่ CCONT แล้วลองวัดไฟใหม่อีกครั้งถ้าไม่ได้ตามที่กำหนดให้ยก CCONT ออกแล้ววัดลายไฟทุกจุดที่ออกจาก CCONT และถ้าวัดแล้วลายวงจรไม่ขาดก็ให้วาง CCONT ตัวใหม่ และอย่าลืม ! Run : EMC หรือ Energy Management Calibration ทุกๆครั้งที่เปลี่ยน CCONT

8. เช็คไฟ PURX และ SLEEPX

PURX และ SLEEPX
Tips : ไฟ PURX เป็นไฟจาก CCONT จ่ายให้กับ CPU ส่วนไฟ SLEEPX เป็นไฟจาก CPU จ่ายย้อนกลับไป CCONT จะต้องได้แรงดันไฟใกล้เคียงกันทั้ง 2 จุด
แนวการวิเคราะห์ : ถ้า วัดไฟ PURX ไม่ได้ตามที่กำหนด CCONT เสีย แต่ถ้าวัดไฟ SLEEPX ไม่ได้ตามที่กำหนด CPU เสีย แต่ก่อนจะยกวาง CCONT หรือ CPU ให้ทดลองเป่าย้ำอุปกรณ์ตัวใดตัวหนี่งที่มีปัญหาก่อน และถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวใหม่ให้วัดลายวงจรให้แน่นอนก่อนว่าขาดหรือไม่ แล้วค่อยวางตัวใหม่

9. ขั้นตอนนี้เป็นการวัดสัญญาณนาฬิกา หรือวัดความถี่ วัดสัญญาณนาฬิกาของ RTC (Real Time Clock) หรือ 32.768 KHz ที่ C220 โดยใช้ PC สโคป เลื่อนสวิทช์ไปที่ความถี่ต่ำ สำหรับผู้ใช้ออสซิลโลสโคปทั่วไปก็ให้วัดตามปกติ

วัดสัญญาณนาฬิกาที่ C220

10. วัดสัญญาณนาฬิกาหรือความถี่ 26 MHZ หรือ System Clock ที่ขา 3 ของ G502 และที่มุมซ้ายล่างของ HAGAR โดยใช้ PC สโคป ปรับไปที่ความถี่สูง สำหรับผู้ใช้ออสซิลโลสโคปทั่วไปก็ให้วัดตามปกติ

วัดสัญญาณนาฬิกา 26 MHz
แนวการวิเคราะห์ : ถ้า สัญญาณนาฬิกาวัดไม่ออก ให้เช็คที่ขา 2 ของ G502 จะต้องมีไฟประมาณ 2.65V และถ้าวัดแล้วไฟปกติตามกำหนด สรุปว่า 26 MHz หรือ G502 เสีย แต่ถ้าวัด 26 MHz ที่ขาของ G502 และที่ C546แล้วมีสัญญาณ แต่ที่รูตาไก่ข้าง HAGAR ไม่มีสัญญาณ สรุปว่าลายวงจรขาด

11. วัดสัญญาณนาฬิกา 13 MHz (RFC) ที่เกิดจากการหาร 2 ของ 26 MHz ใน HAGAR โดยใช้ PC สโคป ปรับไปที่ความถี่สูง สำหรับผู้ใช้ออสซิลโลสโคปทั่วไปก็ให้วัดตามปกติ

วัดสัญญาณนาฬิกา 13 MHz
แนวการวิเคราะห์ : ถ้า วัดสัญญาณนาฬิกา 13 MHz ไม่ออกเลย ตั้งแต่ที่ ขา C(Collector) ของทรานซิสเตอร์ V502 สรุปว่าถ้าลายวงจรไม่ขาด HAGAR เสีย แต่ถ้าวัด13 MHz ที่ขา C ของ V502 และ L511 ได้ แต่ที่ C303 ทั้ง 2 ขา วัดไม่ได้ ให้วัดลายวงจรจาก L511 ไปยังขาข้างขวาของ C303 ว่าขาดหรือไม่ ถ้าขาดให้ใช้ลวดอาบน้ำยาต่อให้เรียบร้อย
Tips : ใน การวัดอาการเปิดเครื่องไม่ติด โดยการใช้ PC สโคป ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณนาฬิกา 32.768 KHz หรือ 13 และ 26 MHz รูปคลื่นในจอคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอาจจะไม่เหมือนกัน เหตุเพราะว่าแต่ละเครื่องอาจจะใช้ การ์ดเสียง การ์ดแสดงผล และความเร็วของ CPU ที่แตกต่างกัน แต่เทคนิคง่ายๆ ที่สุดให้เราวัดจากเครื่องที่ดีก่อน และสังเกตรูปคลื่นหรือเสียง ถ้านำเครื่องที่ดีมาวัด ไม่ว่าจะกี่เครื่องรูปเครื่องก็จะต้องได้เหมือนกันทุกๆเครื่อง แต่ถ้าเครื่องที่มีปัญหารูปคลื่นจะแสดงผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ถึงแม้ว่าเราจะใช้ ออสซิลโลสโคปชนิดตั้งโต๊ะ ในราคาระดับใดก็แล้วแต่ ในการวัดก็ต้องอาศัยการจำรูปคลื่นจากเครื่องที่ดีเป็นหลักเช่นเดียวกัน

12. ถ้า หากวัดได้ทุกจุดตรงตามที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นแรงดันไฟ หรือ สัญญาณนาฬิกา แต่เครื่องยังเปิดไม่ติดให้ลองทำการแฟลชโปรแกรม โดยใช้ โปรแกรมกล้วยหอม Nokia Flasher 478b6 หรือ GEO Flash และถ้าแฟลชได้ปกติ ก็ให้ทำการ UPDATE โดย Nok Tool 17 หรือ 18

แนวการวิเคราะห์ : ถ้า แฟลชโปรแกรมเข้าไปแล้วเครื่องยังเปิดไม่ติด อุปกรณ์์ที่เป็นปัญหา หลักๆก็มีอยู่ 3 ตัว (เรียงตามลำดับที่เสียบ่อย ) คือ แฟลช แรม และ CPU ถ้าจำเป็นต้องยกแฟลชออก ก่อนที่จะวางเพื่อความรอบคอบให้ วัดไฟที่ขา F5 และ E1 ของแฟลชบนแผงวงจรด้วยว่ามีไฟ VBB 2.8 V โดยประมาณ มาถึงหรือไม่ ถ้าไม่มีไฟไปเลี้ยงแฟลชเครื่องก็เปิดไม่ติด และที่สำคัญก็คือวัดสัญญาณจาก CPU มาที่แฟลช ตามขา ADDRESS ที่ A0-A15 โดยใช้ PC สโคป สังเกต รูปคลื่นและสัญญาณเสียงแต่ละขา ถ้าไม่มีรูปคลื่น หรือสัญญาณเสียงแต่ละขาออกมา แสดงว่า CPU เสีย
Tips : รูป คลื่นในจอคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอาจจะไม่เหมือนกัน เหตุเพราะว่าแต่ละเครื่องอาจจะใช้ การ์ดเสียง การ์ดแสดงผล และความเร็วของ CPU ที่แตกต่างกัน แต่เทคนิคง่ายๆ ที่สุดให้เราวัดจากเครื่องที่ดีก่อน และสังเกตรูปคลื่นหรือเสียง ถ้านำเครื่องที่ดีมาวัด ไม่ว่าจะกี่เครื่องรูปเครื่องก็จะต้องได้เหมือนกันทุกๆเครื่อง แต่ถ้าเครื่องที่มีปัญหารูปคลื่นจะแสดงผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ถึงแม้ว่าเราจะใช้ ออสซิลโลสโคปชนิดตั้งโต๊ะ ในราคาระดับใดก็แล้วแต่ ในการวัดก็ต้องอาศัยการจำรูปคลื่นจากเครื่องที่ดีเป็นหลักเช่นเดียวกัน
free counters

ติดตามบทความเพือเป็นกำลังใจ

ช่วงหลายเดือนมานี้ไม่มีเวลาลงข้อมูลนะครับหาเงินใช้หนี้ก่อนครับ

รูปภาพของฉัน
เชียงใหม่, สารภี, Thailand
ยินดีต้อนรับชาวช่างทุกท่านที่แวะเข้ามากันนะครับ ทักทายกันหน่อยเป็นกำลังใจให้หาอะไรมาแจกอีก รับซ่อมมือถือ MP3 MP4 PDA รับเปิด ปั้ม ทำลูก กุญแจทุกชนิด กุญแจหาย เข้าร้านไม่ได้ เข้าบ้านไม่ได้ ลืมกุญแจไว้ในรถ เราช่วยได้ ไม่รับงานกลางคืนนะครับ หลัง18.00น.ไม่รับงานนอกสถานที กุญแจติดต่อ คุณกรวัฒน์ 089-5606619 ถนนคนเดินสารภีโทรมาได้นะครับไปอยู่.. ตอนนี้พวกโปรแกรมต่อลายถูกทางเวปฝากลบทิ้ง ยังไม่รู้จะมีเวลาแก้ไขเมื่อไรครับช่วงนี้งานเยอะ.. อาจพอมีความรู้อื่นๆให้ดูอยู่บ้างนะครับไม่ว่ากันนะครับ
Powered By Blogger