แนวทางการซ่อม NOKIA 7210/NHL-4 ส่วนประกอบของโทรศัพท์มือถือ 6100 ส่วนประกอบต่างๆ ของโทรศัพท์ พื้นฐานของเครื่องรับโทรศัพท์ ระบบที่รองรับของเครื่อง EGSM900,GSM1800,GSM-1900 ส่วนประกอบหลักของโทรศัพท์มือถือจอสีของ NOKIA จะมีอยู่ 2 ส่วนหลักคือ 1. Universal Energy Management (UEM) เป็นตัวจัดการเกี่ยวระบบเสียง การควบคุมการชาร์จไฟ และรวมถึงระบบการจ่ายแรงดันไฟฟ้าทั้งหมดของวงจร 2. Universal Phone Processor (UPP) ทำหน้าทีเหมือนกับ CPU จัดการเกี่ยวกับ MCU หน่วยความจำภายในตัวเครื่อง Block Diagram ของเครื่อง ระบบการทำงานของโทรศัพท์ ส่วนประกอบทางด้าน Hardware การออกแบบสัญญาณพัลท์ ( PWM) หน่วยความจำภายในขนาด 8 MBit หน่วยความจำภายนอกขนาด 4 MBit และสำหรับ Flash ขนาด 64 MBit แบบการจัดการ ASIC "UEM K" ระบบเป็นแบบ GSM triple band คือ 900MHz 1800MHZ 1900MHZ แบตเตอร์รี่เป็นแบบ BL-4C มีอินฟราเรดภายในตัวเครื่อง มีระบบสั่นภายในตัวเครื่อง ส่วนประกอบอื่น ๆ ความละเอียดของจอภาพ 130x130 pixel สี 4096 สี คีย์เป็นแบบมาตรฐาน หน้าจอมีหลอดไฟสีขาว 2 หลอด คีย์กดมีหลอดไฟสีฟ้า 8 หลอด เสียงเรียกเข้าเป็นแบบ Polyphonic มีระบบ Hands-Free ไฟเลี้ยงที่ได้จากแบตเตอรี่แบ่งได้ 3 แบบคือ สภาพปรกติ 3.6 โวล์ท สภาพแบตเตอรี่ต่ำ 3.1 โวล์ท สภาพแบตเตอรี่ที่กำลังชาร์จไฟ 4.4 โวล์ท ลักษณะของตัวบอร์ด Printed Wire Board (PWB) บอร์ดเป็นแบบสองหน้า มีความหนา 1.2 มิลลิเมตร จำนวน 8 ชั้น ใช้หลักการของ Through holes ในการเชื่อมระหว่างบอร์ด อินฟราเรด (IrDA) ใช้ Rohm RPM960-H7 ความถี่ที่ใช้ในการติดต่อส่วนต่างๆ ของระบบ
Frequency | Context | UPP | UEM | Flash | SIM | Comment |
40 MHz | Memory Clock | x | | x | | |
26 MHz | RF Clock | x | | | | |
13 MHz | DBUS,RFBusClk | x | x | | | |
3.25 MHz | SIM | | x | | x | MIN,FREQ |
UP to 1 MHz | RFConvClk | x | x | | | ESTIMATION |
1 MHz | CBUS | x | x | | | |
32 KHz | Sleep clock | | x | | | |
1.2 KHz | ACI | x | x | | | |
1.625/6.5 | Display IF | x | | | | Freq Depends on sw |
* หมายเหตุ เครื่องหมาย x คือส่วนที่ใช้งานของส่วนนั้น
Universal Phone Processor (UPP) ทำหน้าที่เหมือนกับ CPU จัดการเกี่ยวกับ MCU หน่วยความจำภายในตัวเครื่อง มีการจัดการดังนี้
Internal 8 Mbit SRAM(PDRAM)
General purpose USARTS
SIM card interface
Accessory interface(ACI)
Interface control for keypad , LCD , Audio and UEM control
IrDA interface
Handling of RF-BB interface
MCU Band on ARM/Thumb 16/32 bit RISC MCU core-max speed 50 MHz
DSC by Texas Instrument LEAD3 PH2+Megacell 16 bit DSC core 32 bit I/F –max speed 200MHz
* UPP มีจำนวนขา 144 ขา รูปแบบ uBGA
ในส่วนของ UPP มีการใช้ความถี่ 26 MHz จาก RF Chip "MJ" ความถี่ 26 MHz นี้จะถูก UPP หารสองเหลือ 13 MHz เพื่อใช้งานในส่วนต่อไป
Universal Energy Management (UEM) เป็นตัวจัดการเกี่ยวระบบเสียง การควบคุมการชาร์จไฟ และรวมถึงระบบการจ่ายแรงดันไฟฟ้า
ทั้งหมดของวงจร ซึ่งอาจแบ่งได้ดังนี้
ACI Support ( การตรวจสอบอุปกรณ์ต่อจากภายนอก เช่น Fbut )
Audio Codec ( การเข้ารหัส ถอดรหัสข้อมูลเสียง )
11 Channel A/D converter ( แปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล จำนวน 11 ชุด )
Auxiliary A/D converter ( การปรับแต่งสัญญาณ อนาล็อกเป็นดิจิตอล )
Real time logic ( วงจรการทำงานของระบบฐานเวลาจริง )
32 Khz crytal oscillator ( วงจรการกำเนิดความถี่ 32 KHZ )
SIM interface and drivers ( การเชื่อมต่อการทำงานของ SIM )
Storge of IMEI code ( การเก็บข้อมูลของตัวเครื่อง )
2 LED drivers ( วงจรขับ LED 2 ชุด )
IR Interface ( การเชื่อมต่อทางพอร์ตอินฟราเรด )
Voltage references needed for analogue blocks ( การสร้างแรงดันอ้างอิงที่ต้องการใช้ )
Charging function ( โหมดของการชาร์จแบตเตอรี่ )
Baseband regulators ( วงจรจ่ายแรงดันเลี้ยงวงจรต่างๆ )
RF regulators ( วงจรจ่ายแรงดันไฟให้กับวงจร RF )
RF interface converters ( การเชื่อมต่อของสัญญาณ RF )
Buzzer and vibra motor deivers ( วงจรขับกระดิ่งและมอเตอร์สั่น)
* UEM มีขาจำนวน 168 ขา ชนิด BGA ขนาด 12x12 mm หนา 0.8 mm
การแบ่งการทำงานของวงจรไฟเลี้ยง
ภายใต้การจ่ายไฟเลี้ยงของวงจรมาจากแบตเตอรี่ส่งให้ UEM เป็นตัวจัดระบบการทำงานเพื่อที่จะจ่ายแรงดันไฟเลี้ยงในแต่ละส่วนที่ถูกต้องและเหมาะสม
ไฟเลี้ยง VSIM มีค่า 1.8 VDC ถึง 3.0 VDC มาจากการควบคุมของ UEM
ไฟเลี้ยง VCORE คือการควบคุมการเขียนของ MCU มีการควบคุมมาจาก UPP มีค่า 1.8VDC
ไฟเลี้ยง VANT,VFLASH,VIO มีการควบคุมมาจาก UEM
แสดงการแบ่งการทำงานของ UEM
ตารางการทำงานของ UEM
Output Voltage(V) | Output Current(mA) | |||||
Min | Typ | Max | Min | Max | ||
VR1A | RF | 4.6 | 4.75 | 4.9 | 0 | 10 |
VR2 | RF | 2.70 | 2.78 | 2.86 | 0.1 | 100 |
VR3 | RF | 2.70 | 2.78 | 2.86 | 0.1 | 20 |
VR4 | RF | 2.70 | 2.78 | 2.86 | 0.1 | 50 |
VR5,VR6 | RF | 2.70 | 2.78 | 2.86 | 0.1 | 50 |
VR7 | RF | 2.70 | 2.78 | 2.86 | 0.1 | 45 |
VrefRF01 | RF | 1.334 | 1.35 | 1.366 | - | 0.1 |
VIO | BB | 1.72 | 1.8 | 1.88 | 0.005 | 150 |
VSIM | BB | 1.745 2.91 | 1.8 3.0 | 1.855 3.09 | 0.005 0.005 | 25 0.500 |
VANT | BB | 2.70 | 2.78 | 2.86 | 0.005 | 80 |
1.000 1.235 1.425 1.710 | 1.053 1.3 1.5 1.8 | 1.106 1.365 1.575 1.890 | 0.005 0.005 0.005 0.005 | 70 85 100 120 | ||
0.974 1.215 1.410 1.692 | 1.053 1.3 1.5 1.8 | 1.132 1.365 1.575 1.890 | 70 85 100 120 | 200 200 200 200 | ||
VFLASH1 | BB | 2.70 | 2.78 | 2.86 | 0.005 | 70 |
VFLASH2 | BB | 2.70 | 2.78 | 2.86 | 0.005 | 40 |
การจ่ายแรงดันไฟต่าง ๆ อยู่ที่ตัว UEM ดังนั้น UEM มีระบบการจ่ายแรงดันไฟหลายส่วนในการส่งให้แต่ละตัวทำงานได้ถูกต้องโดยสามารแบ่งได้ดังนี้
การจ่ายแรงดันไฟเลี้ยงวงจรที่ VR1-VR7
วงจรชาร์จ (Charging)
การชาร์จแบตเตอรี่มีการควบคุมจาก UEM ในการต่อสายชาร์จจากภายนอกจะต้องมีการตรวจสอบกระแสและแรงดันโดยจะมีการป้องกันระบบด้วยโปรแกรมและ EMC ซึ่งสามารถดูได้จากรูป
ในการชาร์จเมื่อต่ออุปกรณ์ชาร์จแล้ว VCHAR จะส่งให้กับ UEM แต่จะมีส่วนของการป้องกันระดับไฟ VCH คือ VCH dec ปกติมีประมาณ 2 VDC เมื่อปกติวงจรชาร์จจะเริ่มการทำการชาร์จ
แสดงการทำงานของวงจรชาร์จ
แสดงการต่อการชาร์จ
จอแสดงผล LCD Module
จอแสดงผลเป็นแบบ Dot ขนาด 130*130 pixel สี 4096 สี
LCD มีขาต่อการทำงานระหว่างตัวบอร์ดกับจอจำนวน 10 ขาสามารถดูได้จากรูปที่ 5
ขาต่อระหว่างบอร์ดกับจอ LCD
วงจรการทำงานของ LCD
ไฟแสดงผล LED
ไฟแสดงผลแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ สีขาวแสดงผลที่จอภาพ (LCD) จำนวน 2 หลอด และ สีฟ้าแสดงที่ปุ่มกดหรือคีย์บอร์ดจำนวน 8 หลอด ทั้งหมดจะใช้ IC TK11851 เป็นตัวขับกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับ LED ทั้งหมด
การทำงานของวงจร LED
แสดงการวางตัวของ LED บนบอร์ด และอุปกรณ์จริง
ปุ่มกด Keypad
ลักษณะการต่อวงจรการทำงานของปุ่มกดนี้เป็นแบบ 5x4 คือมี 5 แถว กับ 4 คอร์ลัม ซึ่งแสดงได้ดังนี้
การต่อและการทำงานของปุ่มกด
การทำงานของปุ่มกดนี้ได้ทำงานเกี่ยวกับ UPP ซึ่งเป็นตัวรับคำสั่งโดย มี Z300 เป็นตัวป้องกันหรือตัวถ่ายโอนข้อมูลก่อนรับ-ส่งให้กับ UPP ทำงานและแสดงผลออกทางจอภาพต่อไป
การทำงานของ SIM CARD
SIM CARD มีการทำงานสัมพันธ์กันระหว่าง UEM กับ UPP โดย SIM CARD มีคำสั่งการควบคุมมาจาก UPP ขณะที่ UEM จะเป็นตัวจ่ายแรงดันไฟเลี้ยงให้กับ SIM CARD มีระดับแรงดันอยู่ที่ 1.8 Vdc
การทำงานของ SIM CARD
ภาครับ-ส่ง
EGSM และ EGSM900 ใช้ย่านความถี่ต่ำ
DSC , PNC , GSM1800 ใช้ย่านความถี่ปานกลาง
PCS และ GSM1900 ใช้ย่านความถี่สูง
อุปกรณ์ภาครับ
รายการอุปกรณ์และหน้าที่การทำงาน
อุปกรณ์ | หน้าที่การทำงาน |
N801 | TX PA |
L801 | Directional Coupler |
Z601 | Antenna Switch |
Z602 | SAW1800 RX |
Z603 | SAW1900 RX |
Z604 | SAW900 RX |
Z701 | SAW900 TX |
N601 | Mjoelner |
B601 | XTAL |
G701 | VCO |
การตรวจสอบภาครับ
การทำงานส่วนมากอยู่ที่ N601 IC RF สามารถที่จะทำการตรวจเช็คได้โดยดูจากรูปที่ 13
Test points ของภาครับ
การตรวจสอบภาคส่ง
Test points ภาคส่ง
Test points บนบอร์ดด้านหลัง
Test points บนบอร์ดด้านหน้า
หน้าที่การทำงานของอุปกรณ์ในส่วนของภาครับ-ส่ง
IC RF (N601) ทำหน้าที่เกี่ยวกับความถี่ของภาครับที่ได้มาจากการสั่งงานของ UEM และ UPP
Antenna Switch (Rx/Tx Switch) สัญญาณ RF เป็นสัญญาณแบบกรองความถี่ต่ำผ่าน (Low pass filtre) โดยจะมีสํญาณดังนี้
GSM900: Rx1-GSM ออกจาก Antenna Switch แล้วส่งให้ EGSM900 Saw filter (Z604)
GSM1800: Rx2-DSC ออกจาก Antenna Switch แล้วส่งให้ EGSM1800 Saw filter (Z602)
GSM1900: Rx3-PCS ออกจาก Antenna Switch แล้วส่งให้ EGSM1900 Saw filter (Z603)
วงจรการทำงานของ Antenna Switch
Power Amp(PA)
Power Amp มีหน้าที่หลักคือขยายสัญญาณในการส่งโดยทำงานสัมพันธ์กับ Ant SW และ IC RF ซึงทำหน้าที่ควบคุมกำลังส่งหรือที่เรียกว่า VCO อาการเสียของ PA นี้ คือส่งสัญญาณไม่ได้
วงจรการทำงานของ PA
หน้าที่ของระบบการทำงานการต่ออุปกรณ์เสริม
ลักษณะคือการติดต่อระหว่างโทรศัพท์กับอุปกรณ์เสริม เช่น การติดต่อการทำงานด้านซอร์ฟแวร์ จุดต่ออยู่ที่ส่วนล่างของโทรศัพท์ มีส่วนประกอบที่ใช้งานดังนี้
Accessory Control Interface(ACI)
Power Out
Stereo audio output
Universal serial Bus(USB)
Pin | Signal | Notes |
1 | VCHAR | |
2 | GND | Charge ground |
3 | ACI | Serial data bi-directional 1 Kbit/s |
4 | Vout | |
5 | | Not Used |
6 | FBUS-RX | Serial data form accessory to phone |
7 | FBUS-TX | Serial data form phone to accessory |
8 | GND | Data ground |
9 | XMIC N | Negative audio in signal |
10 | XMIC P | Positive audio in signal |
11 | HSEAR N | Negative audio out signal |
12 | HSEAR P | Positive audio out signal |
13 | | Not Used |
14 | | Not Used |
ตารางแสดงขาต่ออุปกรณ์
การต่อการทำงานของ ACI จะติดต่อกับ UEM และ UPP เป็นตัวควบคุมแรงดันไฟเลี้ยงให้กับอุปกรณ์นั้นๆ
ระบบการติดต่อของ ACI
แรงดันที่ใช้เลี้ยงวงจร ACI (Vout)
จากรูปข้างบนในส่วนของแหล่งจ่ายไฟมาจากแบตเตอรี่โดยตรงแต่ Vout จะถูกควบคุมการทำงานด้วย UPP โดยมีสัญญาณในการ ปิด และ เปิด ในการควบคุมการจ่ายไฟ ใช้กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ได้ถึง 150 mA
รูปบอร์ดด้านหลัง
|
รูปบอร์ดด้านหน้า
|
รูปวงจร สวิชต์ ปิด/เปิด
จุดแรกที่เราต้องวัดก่อนในกรณีเครื่องเปิดไม่ติด คือจุด PWRONX จะต้องมีไฟประมาณ 1.8 โวลท์ แต่ถ้ากดสวิชต์ไฟจะตกเป็น 0 โวลท์
ถ้าไม่มีไฟเลย ตัว ไอซี UEM (D200) อาจเสีย แต่ต้องรวจดูตัวสวิชต์ด้วย เพราะถ้าตัวสวิชต์เสียหรือค้างก็จะไม่มีไฟเช่นกัน
|
รูปจุดวัดไฟต่าง ๆ ที่ออกมาจาก ไอซีภาคจ่ายไฟ UEM (D200)
|
จุด VBAT จะต้องวัดไฟได้เท่ากับไฟที่จ่ายเข้าบอร์ด 3.6 - 4 โวลท์
จุด VFLASH1-2 ทันทีที่กดสวิชต์เปิด ต้องมีไฟประมาณ 2.7 โวลท์ แม้ว่าเปิดไม่ติต ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ UEM เสีย
จุด VCORE ทันทีที่กดสวิชต์เปิด ต้องมีไฟประมาณ 1.8 โวลท์ แม้ว่าเปิดไม่ติต ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ UEM เสีย
ส่วนจุดจ่ายไฟอื่น ๆ เครื่องต้องเปิดติดก่อนจึงจะวัดไฟได้ครบ
ในกรณีที่เปลี่ยน UEM แล้ว จำเป็นจะต้องใช้ซอฟต์แวร์เข้าไปแก้ (Repair IMEI) ก่อนเครื่องจึงจะมีสัญญาณ
การใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในเครื่องรุ่นใหม ๆ จะนำมาลงที่หน้า Softwares เร็ว ๆ นี้
Nokia รุ่น 3310 การทำงานโดยรวมของภาครับ Nokia รุ่นนี้ ตามบล็อคไดอะแกรมนี้
เริ่มจาก สายอากาศรับสัญญาณเข้ามา ผ่าน ตัวสลับสายอากาศ (Ant. Sw.) Z502 และแยกสัญญาน GSM 900 ออกมามาจากขา 14 ส่วน 1800 ออกมาที่ขา 12 แล้วถูกกรองด้วย Dual Bandpass Filter Z501 สัญญาณแต่ละย่าน จะถูกขยายสัญญาณให้แรงขึ้นโดย V501 สำหรับ GSM และ V500 สำหรับ 1800 แล้วกรองอีกครั้งด้วย Dual Bandpass Filter Z500 แล้วผ่านตัวบาลัน (T501 สำหรับ GSM และ T500 สำหรับ 1800) ไปเข้า IF IC (N500) ในตัว IC N500 เอง ประกอบไปด้วยภาคสังเคราะห์ความถี่ (PLL) ซึ่งควบคุมด้วย CPU (N300) เพื่อให้ตัว VCO (G500) ผลิตความถี่ขึ้นมาอย่างถูกต้อง (Local Osc.) แล้วไป MIX กับสัญญาณทั้ง GSM และ 1800 ให้กลายเป็นความถี่ที่ต่ำลงมา (IF) แล้วส่งให้ IC จัดการเกี่ยวกับระบบเสียง (N100) ซึ่งจะกลับสัญญาณที่เป็นดิจิตอลให้เป็นอนาลอก (DSP) แล้วนำไปขยายสัญญาณเสียงพูด (300-3400 Hz) ขั้นตอนการจัดการระบบเสียงนี้จะถูกควบคุม โดย CPU อีกเช่นกันเพื่อให้ได้ระดับเสียงที่พอเหมาะ ออกมาที่ขา D1,D2 ของ IC N100 ส่งไปให้ตัวหูฟังเพื่อออกเสียงให้ผู้ใช้ได้ยิน |
มาลองไล่เส้นทางของสัญญาณเข้าภาครับย่าน GSM 900 จากภาพบอร์ดนี้
|
และเส้นทางของสัญญาณเข้าภาครับย่าน 1800 จากภาพบอร์ดนี้
ดังนั้นถ้าอุปกรณ์ใด ๆ ที่สัญญาณวิทยุผ่านเกิดปัญหา หลุด-ขาด-เสีย ก็จะมีอาการทางภาครับ เช่นรับสัญญาณไม่ได้ NO NETWORK รับสัญญาณได้อ่อน เป็นที่ย่านใด ก็ให้ไล่ตามเส้นทางของย่านนั้น
|
อาการเสียต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาครับ
4. ไม่มีสัญญาณหรือมีเพียงย่านใดย่านหนึ่ง
เนื่องจากภาคขยายสัญญาณภาคแรกเสีย (Front End) สัญญาณที่รับได้ย่าน GSM 900 จะถูกขยาย โดย V501 และ 1800 โดย V500 ปรกติแล้วขา Out ของทั้งสองตัวจะมีไฟมาเลี้ยงประมาณ 2.4-2.8 โวลท์ ถ้า V501,V500 เสีย หรือชอร์ต จะวัดได้ต่ำกว่านี้ แต่เพื่อให้แน่ใจลองเปลี่ยนดูจะดีกว่า
ขา 4 เป็นขารับไฟเลี้ยง ปรกติจะวัดได้ ประมาณ 2.8 โวลท์ และขา 1 เป็นขารับไฟควบคุมความถี่ ปรกติจะวัดไฟได้ ประมาณ 1 – 4 โวลท์ อาจ ขึ้นลง ๆ ขณะกำลังสแกนหาสถานีเครือข่าย ขา 1 นี้ ถ้าไม่มีไฟ หรือมี มากว่า 4 โวลท์ค้าง ตัว VCO G500 อาจเสีย
|
การทำงานโดยรวมของภาคส่ง ตามบล็อคไดอะแกรมนี้
อาการเสียต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาคส่ง อาการส่งไม่ออก (หมายถึงไม่มำลังของสัญญาณวิทยุออกมาที่สายอากาศ) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากตัว PA หรือ N502 เสีย มีอาการที่สังเกตุได้สองอย่างคือ 1. ถ้าเสียเนื่องจากตัว PA ชอร์ต เครื่องจะกินไฟมาก แต่จะไม่มีกำลังส่งออกมาที่สายอากาศพิสูจน์ได้โดย นำตุ๊กตาไฟกระพริบมาอยู่ใกล้ ๆ สายอากาศจะไม่กระพริบ หรืออาจกินไฟมากจนไม่สามารถเปิดเครื่องให้ติดได้ ถ้าใช้แหล่งจ่ายไฟที่ มีเข็มวัดการกินกระแสป้อนให้ เข็มวัดการกินกระแสจะขึ้นมากกว่า 0.3 Amps แม้ยังไม่ได้เปิดเครื่องก็กิน แสดงว่าตัว PA อาจชอร์ต ถ้าถอด PA ออก ก็จะหายกินกระแสและเปิดติดเป็นปรกติ ให้นำตัว PA ตัวใหม่มาใส่ได้เลย 2. ถ้าเสียเนื่องจากตัว PA ขาด เครื่องจะกินกระแสน้อยและแต่จะไม่มีกำลังส่งออกมาที่สายอากาศพิสูจน์ได้โดย นำตุ๊กตาไฟกระพริบมาอยู่ใกล้ ๆ สายอากาศ จะไม่กระพริบ และเนื่องจาก ตัว PA เป็น PA สองย่านความถี่ในตัวเดียว วงจรภายใน อาจขาดเฉพาะย่านใดย่านหนึ่ง คือส่งออกเฉพาะย่านใดย่านหนึ่งหรือทั้งสองก็ได้
โดยปรกติแล้วถ้าวัดขา 4,5 ของ PA จะวัดได้ประมาณ 3.6 โวลท์ หรือเท่ากับ แหล่งจ่ายไฟที่ป้อนให้ และวัดขา 11,10 ซึ่งเป็นขารับไฟมาควบคุมกำลังส่ง จะได้ประมาณ 1.8-2 โวลท์ ส่วนการกินกระแสปรกติขณะส่งจะประมาณ 0.3-0.4 Amps ถ้ากินกระแสขณะส่งปรกติแต่ไม่มีกำลังส่งออกมาที่สายอากาศ อาจเป็นเพราะ Ant. Sw. เสียก็ได้ สัญญาณควบคุมกำลังส่งได้มา จาก IC N500 ด้วย ถ้าหากส่วนที่ควบคุมกำลัง ที่อยู่ใน N500 เสีย ก็อาจทำให้ไม่มีกำลังส่งออกเหมือนกัน ถ้าหากเปลี่ยน PA แล้วไม่ หาย ก็ลองเปลี่ยน N500 ดูด้วย
|
ภาคจ่ายไฟ IC N201 (CCONT)
สำหรับภาคจ่ายไฟตัวนี้ มีหน้าที่จ่ายไฟออกไปให้แก่ภาคต่าง ๆ หลายภาค เพราะฉนั้นถ้าวงจรภายใน IC ตัวนี้บกพร่อง ในส่วนใดก็จะเกิดอาการต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ ไม่อ่าน SIM – รับสัญญาณไม่ได้ NO NETWORK – ส่งไม่ออก – บางทีรวน ติด ๆ ดับ ๆ เพราะขาบอลเดาะที่ใต้ ตัว IC จนถึงเปิดไม่ติดเพราะตัว IC เองเสีย ลองมาดูว่า IC N201 นี้ จ่ายไฟไปที่ไหนบ้าง ไฟจากแบตเตอรี่ 3.6 โวลท์ จะจ่ายไฟเข้าขา IC D2,F1,G7,G3,G5,A4,H6 ขา H5 VXO จ่ายไฟ 2.8 โวลท์ไปให้ ตัว G502 ผลิตความถี่ 26 Mhz เป็นสัญญาณ CLOCK หลัก ถ้าไม่มีจะเปิดไม่ติด ขา E1 VRX จ่ายไฟ 2.8 โวลท์ไปให้โมดูลภาครับ-IF IC ส่วนหนึ่งของ IC N500 ถ้าไม่มี ภาครับไม่ทำงาน NONETWORK ขา B2 VSYN-2 จ่ายไฟ 2.8 โวลท์ไปให้ ภาคสังเคราะห์ความถี่ใน IC N500 ถ้าไม่มีระบบวิทยุไม่ทำงาน NO NETWORK ขา E3 VSYN-1 จ่ายไฟ 2.8 โวลท์ไปให้ ตัว VCO G500 ถ้าไม่มีทำให้สังเคราะห์ความถี่ไม่ได้ NO NETWORK ขา H4 VCOBBA จ่ายไฟ 2.8 โวลท์ ไปให้ ภาคจัดการระบบเสียง+ID N100 ถ้าไม่มีขึ้น Contact Service ขา C6 VBB จ่ายไฟ 2.8 โวลท์ ไปให้ ระบบ โลจิก CPU-RAM-Flash ถ้าไม่มี เปิดไม่ติด Flash ไม่ได้ ขา D4 VREF จ่ายไฟ 1.5 โวลท์ ไฟให้ IC N500 และ N100 เป็นแรงดันอ้างอิงให้ IC ทำงาน ถ้าไม่มี NO NETWORK ขา G2 VTX จ่ายไฟ 2.8 โวลท์ ไปให้ ภาคส่ง ถ้าไม่มี จะทำให้ไม่มีสัญญาณส่งออก ขา B4 VCORE จ่ายไฟ 2 โวลท์ ให้ตัว CPU ถ้าไม่มี CPU ไม่ทำงานทำให้เปิดไม่ติด Flash ไม่ได้ ขา H7 VCP จ่ายไฟ 5 โวลท์ ให้ IC N500 ถ้าไม่มี จะไม่มี Clock 13 Mhzไปให้ CPU ทำให้เปิดไม่ติด ขา C7 VSIM จ่ายไฟ 5 โวลท์ไปให้ ซิมการ์ด ถ้าไม่มี จะขึ้น INSERT SIM ทั้งที่มี SIM ตลอดเวลา จุดวัดไฟที่สำคัญ ๆ ต่าง ๆ โดยใช้ ดิจตอลมัลติมิเตอร์ ถ้าใช้ แบบเข็ม จะได้ไฟต่ำกว่านี้นิดหน่อย เพราะว่ามิเตอร์แบบเข็มจะกินไฟไปบางส่วน
|
สำหรับเครื่อง Nokia รุ่น 8210-8250 ภาคจ่ายไฟตามจุดต่าง ๆ จะต่างกันเล็น้อย ดังนี้