วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อีกแนวทางN70 N72 จอขาวค้างโทรไม่ได้

ต้องบอกก่อนนะครับว่าผมเองก็ทำไม่ผ่านทุกเครื่อง
แต่แนวทางที่นำมานี้ก็พอช่วยได้ ให้เราหลงทางน้อยลง
วัดไฟ วัดลายดูก่อนนะครับ ถ้ามีกล่องต่อกล่องดูเขาแนะนำมาแต่ผมไม่มีอะดิ

อาการจอขาวแยกออกได้สองกรณีครับ 1.จอขาวโทรเข้าออกได้ปรกติ 2. จอขาวค้างไม่สามารถใช้งานได้
กรณีที่หนึ่งผมจะอ้างอิงจากภาพการทำงานในส่วนนี้ครับ


ในส่วนอาการแรกนี้เราจะเห็นได้ครับว่า การทำงานตรงส่วนนี้
ซึ้งจากซ็อคเก็ตแล้ว จะเข้ามาที่ Z 4402 Z 4403 ซึ้งเป็นตัวทำหน้าที่คอยป้องกัน
อันตรายที่จะเกิดต่อ omap ในกรณีจอซ็อดหรือซ็อคเก็ตซ็อตZ 4402 Z 4403
ก็จะทำการตัดการทำงานออกทันที โดยไม่ให้เกิดความเสียหายถึง omap
สรุปอาการจอขาวแต่ โทรเข้าออกได้ ปัญหานี้เกิดขึ้นจาก Z 4402 Z 4403 เสีย
หรือ omap เองมีปัญหา ซึ้งโอกาสน้อยที่ omap จะเสียหายในส่วนอาการนี้
อาการที่สอง จอขาวค้าง
อาการนี้ส่วนใหญ่แล้วมักเจอกันค่อนข้างบ่อยพอสมควร
ในส่วนนี้ผมจะตามสาเหตุความเป็นไปได้ในอาการนี้ครับ
ซึ้งในส่วนสาเหตุที่เกิดจาก ซอฟแวร์ ข้างต้นเราก็ทำการ แฟลชใหม่ก่อนเป็นข้างต้นแล้ว
ที่ผมจะอธิบายถึงคงเป็นหลักการในทาง ฮาดร์แวร์ ครับ
ก่อนอื่นเราคงต้องเริ่มจากการวัดไฟ ซึ้งสำคัญ เป็นอย่างมากในกรณี
ที่ไม่มีไฟเลี้ยงอะไหล่ก็ไม่สามารถทำงานได้เช่นกัน เรามาดูกรณีไฟเลี้ยงกันครับ
 ตัวอย่างตามภาพครับ



ตามภาพแสดงถึงค่าไฟจุดต่างๆที่ส่งเลี้ยงระบบการบู้ต APE เรามาดูค่าไฟต่างๆครับ

ไฟ VDDR _APE 1.8V คือค่าไฟที่ได้จาก การลดค่าไฟลงของ N 4201 regulator ที่รับค่าไฟจาก
V -BAT =4V เพื่อมาลดค่าไฟเหลือ =1.8 V เพื่อเลี้ยง APE combomemory เพื่อบู้ตการทำงานในส่วน APE
หากเสียก็ทำให้  APE combomemory  ไม่สามารถทำงานได้
อาการที่เกิดคือ จอขาวค้าง 
 
จุดที่สอง N 4200 APE Vcort smps
ทำหน้าที่รับไฟจาก V -BAT = 3.7 V เพื่อมาประมวลผลจ่ายไฟให้กับ O MAP ในการบู้ต APE
แต่จะมีความยึดหยุนในการทำงาน คือจะจ่ายไฟออกมา ในแบบการรักษาค่าแบตเตอรี่ คือ อยู่ในระดับ 1.05 V/ 1.35 V
ซึ้งในส่วนนี้เราสามารถวัดการเก็บไฟของแบตได้ครับว่าเครื่องจะกินแบตหรือแบตหมดเร็ว อาการดังกล่าวเราสามารถ
วัดตรงจุดนี้เพื่อวิเคราะห์ไดครับ หากเสียก็ส่งผลถึง OMAP ก็ไม่สามารถทำงานได้เช่นกัน อาการที่เกิดขึ้นคือ
จอขาวค้าง เช่นกันครับ 
 
ค่าไฟ VIO =1.8 ที่C 4811 คือค่าไฟที่จ่ายมาจาก RETU ในกรณีวัดไฟไม่ออกจุดนี้ให้เช็คที่ RETU ครับ
เพราะหากค่าไฟตรงจุดนี้ไม่ออกที่ 1.8V ก็จะส่งผลถึงอาการ จอขาวค้างได้เช่นกัน 
ค่าที่ที่ได้จาก J 4818 คือค่าไฟที่แสดงถึงการจ่ายไฟการทำงาน RETU RAP3 ส่งถึง OMAP
ในกรณีที่มีคำสั่งออกจาก rap3 ให้ omap บู้ต ape สถานะตรงนี้ค่าจะอยู่ที่ 1.8 V หากค่าคำสั่ง
ไม่ออกมา คือ rep 3 ไม่สามารถจ่ายคำสั่งออกมาได้ นั้นแสดงว่า rap อาจมีปัญหา ผลคือ เครื่องไม่สามารถ
บู้ตเข้าโหมดการทำงานได้ จอขาวค้าง เช่นกันครับ  

นี้คือส่วนในการวัดค่าไฟครับ
หากวัดค่าไฟได้อย่างสมบูณร์แล้ว ไม่หายจะเกิดจากอะไรได้บ้าง เรามาวิเคราะห์ด้านอะไหล่ที่มีผลต่ออาการนี้กันครับ
ผมจะวิเคราะห์จากการทำงานของอะไหล่เป็นหลักนะครับ และความเป็นไปได้ ไม่ใช่วิเคราะห์หลักจากอาการ
แต่จะมองในภาพรวม
ตัวแรกที่ไม่เสี่ยงและมีโอกาสเป็นไปได้ในอาการนี้คือ APE combomemory   (combo diks )
APE combomemory จะเป็นแหล่งเก็บข้อมูลในการบู้ต ape / omap จะทำงานได้นั้นต้องพึ่ง  APE combomemory
ในการทำงาน ซึ้งหาก combomemory  เสียหรือขาแครกไม่สามารถทำงานส่งข้อมูลให้ omap ได้ อาการ
ที่เกิดขึ้นนั้นก็คือ  จอขาวค้าวเช่นกันครับ
ตัวที่สอง omap หากเสียหรือขาแครก ไม่สามารถรับข้อมูลจาก combomemory
มาเพื่อบู้ต ape ได้ ก็เกิดอาการจอขาวค้างเช่นกันครับ หรืออีกกรณีคือ ไม่สามารถ
รับค่าคำสั่งการทำงานจาก rap ได้ก็ส่งผลไม่สามารถบู้ต ape ได้เช่นกันครับ
ตัวที่สาม rap3 มีปัญหาหรือขาแครกไม่สามารถจ่ายคำสั่งในการบู้ต ape มายัง omap ได้
ตรงนี้ก็มีส่วนได้ครับ แต่โอกาสที่จะเกิดจาก rap ก็ค่อนข้างน้อยครับ

ที่ผมได้กล่าวในข้างต้นนี้ เป็นแนวทางในการตรวจเช็คและซ่อม
อาการจอขาวใน N 70 72 แต่จะเกิดจากตัวไหนนั้นต้องอยู่ที่เหตุและผลของสาเหตุนะครับ
ในส่วนนี้ผมไม่ขอใช้คำว่าฟันธง แต่ขอใช้คำว่า  แนวทางในการทำงาน  ก็พอครับ


หวังว่าจะเกิดประโยชย์กับหลายๆท่านครับ
ขอบคุณบทความแรกของ คุณเจ๋ง   ( น้องโฟนโมบาย )

 จอขาวค้างกรณีตกน้ำ



กรณีตกน้ำมาส่วนมาก SMPS มักจะชอร์ตและทำหัยไม่สามารถจ่าย VcorA 1.4v ออกมาทำหัย APE ไม่ทำงาน จอขาว ตามภาพครับ 
ส่วน มากเวลาเจอแบบนี้ช่างทั่วปัย ก็จะถอด n4201 จ่าย1.8 หัย combo ออกด้วย แล้วต่อลายแก้ปัญหาจอขาวค้าง (ซึ้งปัญหาจะตามมาอีกเยอะเช่นกินแบต
เล่น MP3 สัก 5-6 เพลงแล้วดับ ซึ่งเกิดจากการดึงใฟจากจุดอื่นมาทดแทน) แนะนำหัยหามาเปลี่ยนครับ(ถ้ายกแล้วหายชอร์ต 0.2 1.4 ก็ไม่มา)
ก่อน จะวางก็ต้องเช็คส่วนประกอบครับ N4200จะทำงานได้ก็ต้องมีรายละเอียดดังนี้ครับ 1 . ไฟจากแบตเตอรี่  2. สัญญาณ En 3.7 จากรีตู 3. สัญญาณ
นาฬิกา 600 kHz จาก TAHVO  4. APE sleepX 1.8 คำสังตัวเนี้ยที่สั่งลดแรงไฟตอนอยู่ช่วงสลิปโหมดไม่ให้สั่ง 1.4 ออกมา(พักหน้าจอ) ต้นเหตุ
ของการกินแบตเพราะ1.4ที่ดึงจากจุดอื่นมาเครื่องต้องทำงานตลอด(คงไม่งงนะครับ)

 


ก่อนที่จะต่อลาย หรือ ยกไอซีเรามาวัดไฟก่อนดีไหมครับ จะได้รู้ว่าต้นเหตูมาจาก smps หรือป่าวเพราะนอกจาก smps แล้วอาการจอขาวค้างยังมี combo,ape regurator,tohvo,rap3g ด้วยนะจะบอกให้




 ต่อด้วยบทความของคุณ DA เฮงทวี นะครับ
อ่านเพื่อเป็นแนวทาง
เอาแค่ที่ผมพอทราบนะครับ แต่คิดว่าคงพอนำไปใช้ได้นะครับ

อาการ ที่ผมกำลังจะพูดถึงคืออาการจอขาวค้างนะครับ คือไม่สามารถโทรเข้าออกได้ จะค้างอยู่ตลอดปิดก็ไม่ได้ ใช้กล่องเช็คส่วนมากจะฟ้องERROR_APE

ทำ ความเข้าใจกันก่อนตามความเข้าใจผมนะ คืออาการจอขาวค้างคือเครื่องมันบูทโนเกียไม่ขึ้น แต่เครื่องเปิดติดแล้ว ถ้าเปิดติดแล้วในส่วน CMT ก็ไม่น่าจะมีปัญหา(ไม่น่าจะมีปัญหานะแต่อาจจะมีก็ได้) ก็คือในส่วน RAP3G FLASH RAM   

แต่ในส่วนที่มีปัญหาที่ทำให้บูทเครื่องไม่ขึ้นก็จะอยู่ในส่วน APE ก็คือ OMAP COMBO SMPS
เริ่มเลย
SMPS เป็นตัวที่จ่ายไฟเลี้ยงให้ OMAP คือไฟ VCOREA 1.4V ถ้าไฟจุดนี้ไม่ออกก็จะทำให้ OMAP ไม่ทำงานส่งผลให้เกิดอาการจอขาวค้างโดยตรง   

SMPS จะทำงานได้ต้องได้รับไฟ APESleepX1.8V จาก RAP3G  มาเข้าขา VSEL ของ SMPS ที่ขา B1

ไฟตัวต่อมาที่มาที่ SMPS คือ RstX 4V. เป็นไฟชุดคำสั่งมาจาก RETU มาเข้าที่ขา EN ของ SMPS ที่ขา D2

ไฟตัวสุดท้ายคือไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่  VDD กับ  PVIN ของ SMPS ที่ขา A3 และ B3 ตามลำดับ

มาดูในส่วนสัญญาณนาฬิกาที่มาเลี้ยง SMPS บ้างคือ CLK600 ออกมาจาก TAHVO มาเข้าที่ขา SYNC/MODE ของ SMPS ที่ขา D1

เวลา วัดยก SMPS(N4200) ออกแล้ววัดที่บอดเลยนะครับตามขาต่างๆ ว่าไฟและสัญญาณนาฬิกามาครบมั้ยถ้ามาครบ VCORE1.4V ต้องออก ถ้าไม่ออกน่าจะเสียที่ตัว SMPS(N4200) ต้องเปลี่ยนครับ


ถ้า VCORA 1.4V ออกไปเลี้ยง OMAP แล้วแต่ OMAP ยังไม่ทำงานอีก ยังจอขาวค้างอยู่ต้องเช็คเกี่ยวกับ OMAP ทั้งหมด
พวก VIO 1.8V จาก RETU   PURX 1.8V จาก RETU   APESleepX 1.8V จาก RAP3G    SleepClk32.768K จาก RETU
SysClk 19.2M จาก RAP3G  ว่าพวกนี้มาครบมั้ย ถ้าครบ OMAP ไม่ทำงานก็คงเกิดจากตัว OMAP มีปัญหาเอง



ไฟ ตัวต่อมาที่จะพูดถึงก็คือ VDDR_APE เป็นไฟที่ออกจาก N4201 ไปเลี้ยง COMBO ถ้าไฟตัวนี้ไม่ออก COMBO ก็ไม่ทำงาน ทำให้เกิดอาการจอขาวค้างได้เช่นกัน

APE regulator (N4201)  จะทำงานได้ต้องได้รับไฟ RstX 4V จาก RETU มาเข้าขา VEN ของ N4201
ไฟอีกตัวที่มาเลี้ยง N4201 คือไฟจากแบตเตอรี่ วัดได้ที่ C4203

ถ้า N4201 ได้รับไฟเลี้ยงครบแล้วจะจ่ายไฟ VDDR_APE1.8V. ไปเลี้ยง COMBO  วัดที่ C4206  หรือวัดก่อนเข้า COMBO เลยที่ C7602 ถ้าวัดไม่ออกต้องเปลี่ยน N4201

เอาตัวอย่างให้ดูนะครับที่เขาต่อตรงกัน ไม่แนะนำให้ต่อนะครับแต่ทำเพื่อเทสได้


จุดที่ 1 เขาเอา N4201 ออกแล้วไปดึงมาจาก C2240 คือไฟ VIO 1.8V  มาจ่ายแทนไฟ VDDR_APE ที่ C7602  COMBO ก็จะยังทำงานได้เหมือนเดิม

จุด ที่ 2 เขาเอา N4200 ออกแล้วดึงไฟมาจาก C4808 คือไฟ VIO 1.8V มาจ่ายแทนไฟ VCOREA 1.4V ที่ C4805    จะเห็นว่าไฟที่เราดึงมาคือ VIO 1.8 V มันมากกว่าไฟ VCOREA1.4 V อยู่พอสมควร ทำให้ OMAP ทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งผมถึงไม่แนะนำให้ต่อตรงไง

แต่ถ้าดูการทำงานของ N4200 จริงๆแล้วไฟ VCOREA1.4 ที่จ่ายให้ OMAP ถ้าอยู่ในช่วง SleepMODE หรือตอนมันพักหน้าจออะครับ
ไฟ ตรงนี้จากที่ SMPS จ่ายออกมา 1.4  จะจ่ายออกมาเพียง 1.05 V เป็นการประหยัดพลังงานครับ    ซึ่งถ้าคุณต่อตรงเอาไฟ VIO มาแทนไฟจุดนี้จะกิน 1.8 ตลอดเวลาทำให้เปลืองแบตเตอรี่มาก OMAP ก็จะทำงานหนักมากเช่นกันระยะยาวอาจมีผลเสียครับ
 

แนวทางตรวจเช็คอาการ ชาร์ทไม่วิ่งNOKIA 1110

1110 ชาร์ทไม่วิ่ง
เสียบสายชาร์จแล้วไม่เกิดอะไรขึ้น วัด F2000 กับ L2000  ดูว่าขาดไหมถ้าไม่ขาด
ให้วัดจุด J2010 ว่ามาถึง F2000 เปล่าถ้าไม่มาก็ต่อลายเลย

แนวทางของท่าน BAMBOO ให้ใว้น่าสนใจมากครับ
อาการขึ้นไม่ชาร์จ ผมขอแนะนำวิธีการตรวจเช็คและแก้ไขเบื้องต้นให้แล้วกันนะครับ
ส่วนที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับขึ้นไม่ชาร์จที่เป็นบ่อยจะมีดังนี้ครับ
1.ลาย bsi
2.ลาย Btemp
ทั้งนี้นั่นหมายถึงคุณตรวจเช็คแล้วว่าแบตหรือที่ชาร์จหรือลายชาร์จไม่มีปัญหานะ
ทั้ง 2 ส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการชาร์จเพราะเครื่องจะตรวจสอบขนาดของแบต
เพื่อทำการชาร์จไฟให้เหมาะสมทางลาย bsi
และตรวจสอบอุณหภูมิของตัวแบตว่าปกติไหมทาง btemp
ถ้าร้อนผิดปกติจะได้หยุดการชาร์จครับ
ซึ่งสาเหตุเกิดจากมีอุปกรณ์บางตัวในลายเหล่านี้มันเสื่อมหรือเสียครับ

วิธีการตรวจสอบแก้ไข
ลาย bsi (มีปัญหาบ่อยมากที่สุด)
1.ต้องไล่ลายbsiว่าเดินจากไหนไปไหนบ้าง
  -จากเขี้ยวแบต
  
   
-แยกเข้าวงจรป้องกันไฟกระชากและรักษาระดับแรงดัน R2020
 
  -สุดท้ายเข้าที่ขา bsi ของ UEM โดยผ่าน R2205

2.ตัวที่จะเสียและเป็นบ่อยสำหรับอาการนี้มีอยู่2ชนิดครับ
คือ Cเก็นประจุ กับ วาริสเตอร์ ที่ต่อระหว่างลาย bsi  กับกราวน์
   ซึ่งมันจะเสียในลักษณะช็อตหรือรั่ว
   จากรูปข้างบน
   -C เก็บประจุที่อาจมีปัญหาคือ C2000 , C2006 ,C2240
   -วาริสเตอร์ที่อาจมีปัญหาคือ R2000 , R2013
   ไล่ถอดทีละตัวครับแล้วลองชาร์จดู    แนะนำให้ถอดวาริสเตอร์ก่อนครับ พวกนี้ถ้าเอาแบบลูกทุ่งก็ถอดทิ้งได้ครับ
    เพราะเป็นตัวป้องกันไฟกระชาก ถ้าคราวหน้ามีไฟกระชากเข้ามาที่เครื่อง  ก็จะเข้า UEM เลยครับ
    เหมือนกับประตูระบายน้ำ ถ้าไม่มีประตูระบายน้ำเวลาน้ำมามากก็ท่วมเมืองแหละครับ ฉันใดฉันนั้น
    ตัวที่ไม่เสียก็ควรวางไปบ้างสักตัวก็ยังดี
รูปล่างสีชมพูคือวาริสเตอร์   สีแดงคือตัวเก็บประจุครับ
       
C ที่อยู่ใกล้ UEM (มุมขวาบนของUEM) ต้องระวังในการถอดด้วย เพราะ UEM รุ่นนี้ที่เห็นจะติดกาว
ระวังความร้อนที่เป่าอย่าให้ตะกั่ว UEM ละลาย   เดี๋ยวจะเปิดไม่ติด แนะนำให้ถอดเป็นตัวท้ายๆครับ

ลาย btemp (นานๆจะมีปัญหา)
1.ไล่ลายbtempว่าวิ่งจากไหนไปไหนบ้าง
    -เริ่มจากตัวเทอร์มิสเตอร์ R2001 เป็นเซนเซอร์อุณหภูมิ
   
    -ผ่านR2205เข้าขาbtempของUEM
   
2.ตัวที่อาจจะมีปัญหาคือ
   - เทอร์มิสเตอร์ R2001 เป็นตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าได้ตามอุณหภูมิ ในวงจรนี้ค่าปกติคือ 47kโอห์ม
     ลองยกออกมาวัดถ้าได้ค่าผิดเพี้ยนกว่านี้มากๆให้เปลี่ยนครับ แต่ถ้าค่าได้เท่าปกติก็ยกไปวางที่เดิม
     ตัวนี้ถ้ายกออกต้องหาเปลี่ยนใหม่นะครับค่า 47kโอห์ม ถ้าหาไม่ได้ก็เอาRธรรมดาค่า47k มาใส่พอกล้อมแกล้มก็ได้ครับ
     แต่ถ้าคราวหน้าแบตมันร้อนจัดก็เครื่องก็จะไม่ตัดไฟนะครับ
   - C เก็บประจุ C2220 อันนี้ลองถอดออกมา ถ้าไม่หายก็ใส่เข้าไปใหม่ ตัวนี้ก้อถอดทิ้งได้ครับ
     แต่ตัวนี้ก็แนะนำให้ระวังในการถอด เพราะอยู่ใกล้UEM และผมยังไม่เห็นเจอเสีย แนะนำให้ถอดเป็นตัวสุดท้ายครับ
รูปล่างกรอบสีเขียวเป็นเทอร์มิสเตอร์  สีแดงเป็นC
   

หมายเหตุ ตัว R2001 ไม่ใช่วาริสเตอร์ แต่สัญลักษณ์เหมือนกัน เพราะเป็นตัวต้านทานปรับค่าได้
                เทอโมมิสเตอร์เป็นตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้ตามอุณหภูมิ
                วาริสเตอร์ก็เป็นตัวต้านทานปรับค่าได้เหมือนกัน แต่เปลี่ยนค่าตามแรงดันที่ตกคล่อมตัวมัน
                วิธีสังเกตุคร่าวๆให้ดูสัญลักษณ์ในวงจร ถ้ามีค่าความต้านทานกำกับข้างตัวมันก็เป็นเทอร์มิสเตอร์

ลืมบอกไปว่าตัวที่ล้อมเป็นกรอบสีเขียว ยกออกก็ต้องเอามาวางเหมือนเดิมด้วยถ้าไม่เสียนะครับ

เทคนิคการซ่อมเครื่องจีนเปิดไม่ติด 90% รับเงินครับ

กรณีที่ไม่ได้ตกน้ำหรือหล่นมานะครับ
จับซัพพายดูว่ากินกระแสไฟเท่าไร
1.จับซัพพายแล้วช็อค ลองสลับขั้ว ถ้ายังช็อต ให้ปรับซัพพายมาที่ 1.6-1.8 V.ถ้ายังช็อตอีกก็ลดระดับไฟลงมาเรื่อย
จนกว่าจะไม่ช็อต เพราะเราจะเห็นว่าเรายังไม่ทันกดเปิดเครื่อง มันก็กินกระแสไฟแล้ว
สิ่งแรกที่ควรเช็ค แจ็คชาร์จ ทองเหลืองอาจหักงออยู่ก็ให้เปลี่ยน ถ้าแจ็คชาร์จไม่มีปัญหา ก็เอาบอร์ดจับซัพพายกับกระแสไฟที่บอกไว้ข้างต้น
แล้วคำดูว่าตัวไหนร้อน ก็เปลี่ยนตัวนั้น ส่วนมากจาเป็นที่ PA ก็ให้เปลี่ยน
2.ใช้กระแสไฟปกติ ที่3.9-4.4 V นำเครื่องจับซัพพายไม่ต้องเปิดก็กินกระแสไฟ 0.20 อาการนี้เป็นที่ PAครับ
3.จับซัพพายไม่ต้องเปิดก็กินกระแสไฟ 0.30-0.35 ส่วนมากเป็นที่ IC POWER กับ CPU
4.จับ ซัพายไม่ต้องเปิดก็กินกระแสไฟ 0.02 ให้ลองยกRตัวใหญ่ข้างไดเวอร์ถ้าหายแสดงว่า ตัวRเล็กๆรอบๆลีคให้ยกออกที่ละตัวแล้วลองจับซัพพายดู ถ้าหายก็ให้เอาออก หรือเปลี่ยน แต่ถ้ายกออกRใหญ่แล้วไม่หาย ก็แสดงว่า PA มันลีค มันไม่ช็อตครับ เปลี่ยนPA ถ้ายังไม่หายอีก ทีนี้ต้องไล่ยาวเลยครับ จำพวก IC 8คุมซิม , คุมทัช , คุมบลูธูท พวกนี้ตัวปัญหาชอบลีค
5. จับซัพพายแล้วเปิดเครื่องไม่กินกระแสไฟเลย นิ่ง อาการนี้ให้เช็คที่ขั้วแบตถ้าไม่หาย เป็นที่ IC POWER กับ CPU
6. จับซัพพายแล้วเปิดเครื่องกินกระแสไฟ 0.04-0.07 ปล่อยแล้วดับ ให้ลองแฟรช ถ้าไม่ผ่านเป็นที่ IC POWER หรือ CPUแต่ถ้าตอนเปิดออนวิ่งพอปล่อยหยุด ก้อน่าจาเป็นที่ IC POWER, CPU หรือไม่ก็ เม็ดแฟรช อีกตัวหนึ่งครับ แฟรชจบแต่พอเปิดกินกระแสเท่าเดิม เป็นที่
CPU หรือเม็ดแฟรช แต่ส่วนมากเป็นที่เม็ดแฟลชถึง90%
การแฟรชเครื่องที่เปิดไม่ติดมีวิธีการตรวจสอบว่าเป็นที่อะไร
6.1 ถ้าแฟรชแล้วไม่จบขึ้นว่า close ในบรรทัดสุดท้าย นับจากบรรทัดสุดท้ายนะครับ บรรทัดที่3 มานจะบอกว่า Flash type แสดงว่าเท็ดแฟรชเสียครับ
6.2 ตอนแฟรช ให้ดูที่บรรทัดที่6ด้วยมานจะบอกเกี่ยวกับCPUถ้ามันขึ้น 000FFไม่มีตัวเลข แสดงว่าCPUเสียครับ
6.2 ตอนแฟรช กดออน ไปพอปล่อยหยุด ให้แฟรชใหม่กดออนไปเรื่อยๆจนกว่ามานจะขึ้นแถบน้ำเงินแล้วลองปล่อยถ้าหยุด แสดงว่า IC POWER เสีย ครับ เม็ดก้อเป็นด้ายเหมือนกันครับ
7. จับซัพพายเปิดเครื่องแล้วสั่นตลอด เครื่องก้อไม่ติด IC POWER
8. จับซับพายไม่ทันเปิดก้อติดเอง แล้วก็ดับ แล้วก้อติดเอง เป็นอยู่แบบนี้ ตัวนี้เป็นที่ IC POWER ครับ
9. โทรออกแล้วดับ ก่อนอื่นเช็คแบตก่อน หาแบตก้อนดีดีมาลอง ไม่หายให้ลองแฟรชเวอร์ชั่นใหม่ลงไป ยังไม่หายอีกก็ต้องเปลี่ยน PA
ทุกกรณีที่ผมกล่าวมานี้จะต้องเป็นเครื่องใหม่ที่ไม่เคยผ่านกานซ่อมมานะครับ
จากประสบการณ์ที่ผมซ่อมมาครับ ผิดพลาดประการใดช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

ขอเสริมนะครับ สำหรับท่านที่ใช้ซัพพรา่ยแบบเข็ม จะมีหน้าสเกลอยู่2ช่อง คือ V และ A
V บอกเกี่ยวกับการปรับแรงดันไฟที่จ่ายอยู่ขณะนั้น
A บอกเกียวกับกำลังไฟที่ใช้อยู่ขณะนั้น
กรณีที่บร์อดช็อต หากใช้ซัพพรายชนิดนี้ ให้ปรับ V ไปที่ 0V ครับสเกลฝั่ง A ก็จะอยู่ที่0 A ด้วยเช่นกัน
ให้ ค่อยๆปรับ แรงดันเพิ่มขึ้นทีละหน่อยช้าๆ โดยสังเกตุฝั่ง A เข็มจะว่ิ่งขึ้นเร็วมากกว่าปกติ ปรับจนสเกลฝั่ง A วิ่งสุด แต่อย่าให้ ตัด
หลัง จากนั้นก็ให้คลำหา ไอซีตัวที่ร้อนที่สุด(ย้ำว่าร้อนที่สุด) บนบร์อด แล้วทำการถอดออก หลังจากนั้น ปรับVจ่ายปกติ แล้วคีบดูว่ายังช็อตอยู่หรือไม่
หากฝั่งสเกล A ไม่มีการกระดิกเองหรือกินกระแสเองแสดงว่าท่านยกถูกตัวแล้ว
ส่วนมากที่เจอนะครับ จะมีแค่ไอซีที่ใช้ไฟ VBATT โดยตรงเท่านั้นที่ช็อต เช่น ไอซีพาวเวอร์ -พีเอ เป็นต้น

อาการอื่นก็ต่อๆไปนะครับ ขอบคุณครับ วิเคราะห์จากประสปการณ์เช่นกันครับ hahaha

มาแก้ไขเพิ่มเติมครับ เอารูปวิธีการเช็คของโนเกียแท้มาด้วยครับ แนวทางเดียวกัน
ลองดูตัวอย่างเวลาปรับซัพพรายตามรูปด้านบนเลยนะครับ ค่อยๆปรับแรงดันไฟ จาก 0V เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ คอยสังเกตุฝั่ง A (แอมป์)จะวิ่งเร็วขึ้นมากกว่าปกติ ทั้งที่โวลท์ยังขึ้นไม่เท่าไหร่ หากฝั่ง A วิ่งสุดแล้ว (อย่าให้เครื่องตัดหรือร้อง) ให้หยุดปรับโวลท์ แล้วลองคลำหาตัวที่ร้อนที่สุดบนบอร์ดครับ (ย้ำว่าร้อนที่สุด) เริ่มจากไอซีที่รับไฟVBATTโดยตรง เช่น RETU THAVO PA แต่ยังไม่ต้องยกออกนะครับ ให้ลองดูเส้นทางที่VBATT วิ่งผ่านว่ามีพวกคล์อยต่อคล่อมเส้นทางไฟอยู่หรือเปล่า ให้ทำการยกออกดูก่อน เพื่อจะได้สรุปอาการว่าเป็นที่กลุ่มไหนที่มีอาการช็อต(ดูรูปประกอป)





ยกตัวอย่างจากรูปด้านบน หากยกคล์อยออกแล้วหายช็อต แสดงว่า(สมมุติ ช็อตที่ชุดPA)อาจเป็นไปได้ว่า C7520(ในวงกลมสีเขียว)อาจมีอาการลีค (รั่ว)อยู่ ให้ลองยกออกมาเช็คดูก่อน (เสี่ยงน้อยกว่ายกPAเลย)ว่าเป็นที่ตัวนี้หรือไม่ หากไม่ใช่ ค่อย ยก PA ออกเป็นอันดับต่อไปครับ ชุดอื่นๆผมก็ใช้หลักการเช่นนี้เช็คครับ ลองดูครับเผื่อจะช่วยเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการเช็คครับ

ขอบคุณ ท่าน Dr_GOD และ ท่าน sabkung139 ไว้นะที่นี้ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หลักการชาร์จของตระกูล MTK i-mobile หรือ เครื่องจีน

อ่านและทำความเข้าใจให้ดีๆ ผมว่ามีประโยชน์ไม่มาก ก็น้อยครับ
อาการที่เกิดขึ้นกับ i-mobile หรือ เครื่องจีนทั้งหลายเช่น...

1.ไม่ชาร์จ
2.ชาร์จนานไฟเกิน
3.แบตเตอรี่ร้อนเกิน เป็นต้น

ล้วนแต่เกี่ยวข้องในวงจร
ทั้งนี้ทั้งนั้น ผิดอย่าว่ากัน ถูกไม่ต้องชม
แต่ผมใช้หลักการทำงานแบบนี้ในการซ่อมอาการชาร์จของเครื่องมานานแล้ว
ก็เลยอยากเสนอกับผู้ที่ยังไม่เริ่มทำ หรือ ทำแล้วไม่ค่อยผ่าน
ถ้าเกิดผู้ที่ได้เข้ามาอ่าน... อ่านแล้วเข้าใจการทำงานของมัน.. เครื่องตระกูลนี้ก็ซ่อมได้ไม่ยากครับผม...






ขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ที่เริ่ม ได้เข้าใจให้มากขึ้น...
ผมจะขอแยกจุดที่น่าสงสัยกับอาการต่างๆ ดังนี้...

1.อาการไม่ชาร์จ หรือ เสียบสายชาร์จแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น
   หลังจากที่ตรวจเช็ค วอชาร์จ กับ แบตเตอรี่ แล้ว ส่วนสำคัญใน Hardware ที่เกี่ยวข้องมีไม่กี่ตัวกับอาการนี้ คือ..
  1.1 ทำการตรวจเช็คคอนเน็คเตอร์ (ตูดชาร์จ) ว่าดีอยู่หรือไม่
  1.2 หา F (ฟิวส์) ให้เจอ ตรวจเช็คว่าขาดหรือไม่
  1.3 ใช้มิเตอร์วัดจาก F (ฟิวส์) ไปที่ Power IC ขาที่ 1 ว่าถึงกันหรือไม่
ทั้ง 3 ขั้นตอนผ่านหมด ผมเชื่อว่าเครื่องต้องชาร์จได้ หรือ มีการรับรู้จาก CPU ว่ามีการชาร์จ อย่างแน่นอนครับ

2.อาการชาร์จนานไฟเกิน (อาการที่ผม หรือ เพื่อนๆ ที่เจอกันบ่อย)
  ตอนแรกผมเซ็งเป็ดกับอาการนี้จัง.. เพราะเปลี่ยน Power ไปหลายตัวไม่ค่อยผ่าน ตามมาดู Hardware ที่เกี่ยวข้องกันครับ...
  2.1 อาการนี้ (หัวข้อที่ 1 ไม่ต้องตรวจเช็คเลย) ส่วนที่เกี่ยวข้องมีอยู่ในมุมแคบๆ แค่นั้นเองครับ
  2.2 ให้ดูว่าตัว IC FET (8 ขาสังเกตุง่ายๆ) ว่ามีคราบน้ำหรือไม่ ถ้าปกติ ก็ทำการเปลี่ยนเลยครับ

แล้ว ถ้าเสียบสายUSB แล้ว cpu รู้ได้อย่างไร ว่าเป็นสาย USB เพื่อเข้าโหมดแหล่งจัดเก็บข้อมูล
หลักการของการรับรู้ของเครื่องว่า "ท่าน" เสียบสายชาร์จ หรือ เสียบสาย USB มีดังนี้...
CPU จะรับรู้จากไฟที่มาทาง ตูดชาร์จ ว่ามีโวล์เท่าไร 

(โดยอาศัย Software ที่อยู่ในเครื่องเป็นตัวกำหนด)
  หากแรงดันมามากกว่า 1.4 โวล์ขึ้นไป CPU ก็จะสั่งงานให้เป็นระบบการชาร์จ
  แต่ถ้าแรงดันต่ำกว่า 1.4 โวล์ CPU ก็จะสั่งงานให้เป็นการโอนถ่ายข้อมูล


ขอบคุณบทความนี้จากคุณ วราวุธ เพรชบุรณ ์ โมบาย มากๆครับ

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สำหรับท่านที่สนใจนำโคมลอยไปจำหน่ายครับ

พอดีพวกโคมลอยผมเองไม่ได้รับผิดชอบทางด้านรับและส่งของ
เป็นน่าที่ของแฟนผมเองครับ ก็จะช่วยลงมือทำโคมให้เท่านั้น
ส่วนท่านใดสนใจนำไปจำหน่ายติดต่อแฟนผมโดยตรงเลยครับ
ผมไม่ได้ค่านายหน้านะครับ ราคาส่งเท่ากันทุกท่าน
พอดีผมคุยไม่ค่อยเก่งปล่อยให้เป็นน่าที่ของผู้หญิงเขาไป
ก็ตามไปดูได้จากลิ้งค์ด้านล้างเลยนะครับ ขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุน

http://handmade-arry.blogspot.com/2010_07_14_archive.html
ช่วงนี่ไม่ค่อยได้ปล่อยของเพราะเนตหลุดบ่อยมากๆ
ทำอะไรก็ช้าไม่ไหวพาลจะหงุดหงิดเอาครับ
เดียวรอเนตเข้าที่เข้าทางจะกลับมาลุยพวกต่อลายให้อีกที่ครับ
free counters

ติดตามบทความเพือเป็นกำลังใจ

ช่วงหลายเดือนมานี้ไม่มีเวลาลงข้อมูลนะครับหาเงินใช้หนี้ก่อนครับ

รูปภาพของฉัน
เชียงใหม่, สารภี, Thailand
ยินดีต้อนรับชาวช่างทุกท่านที่แวะเข้ามากันนะครับ ทักทายกันหน่อยเป็นกำลังใจให้หาอะไรมาแจกอีก รับซ่อมมือถือ MP3 MP4 PDA รับเปิด ปั้ม ทำลูก กุญแจทุกชนิด กุญแจหาย เข้าร้านไม่ได้ เข้าบ้านไม่ได้ ลืมกุญแจไว้ในรถ เราช่วยได้ ไม่รับงานกลางคืนนะครับ หลัง18.00น.ไม่รับงานนอกสถานที กุญแจติดต่อ คุณกรวัฒน์ 089-5606619 ถนนคนเดินสารภีโทรมาได้นะครับไปอยู่.. ตอนนี้พวกโปรแกรมต่อลายถูกทางเวปฝากลบทิ้ง ยังไม่รู้จะมีเวลาแก้ไขเมื่อไรครับช่วงนี้งานเยอะ.. อาจพอมีความรู้อื่นๆให้ดูอยู่บ้างนะครับไม่ว่ากันนะครับ
Powered By Blogger