1.1วัดจากความต้านทาน ก็มี2วิธีย่อยครับ
-วิธีที่1 วัดความต้านทานระหว่าง2จุด โดยอาศัยหลักการที่ว่าลายที่ต่อกันจะวัดความต้านทานได้0โอห์ม
วิธีวัด ตั้งมิเตอร์Rx1แล้ววัดคล่อมระหว่างจุดที่ในลายที่ต้องการตรวจสอบ อันนี้พื้นๆนะครับ ง่ายสุดแล้ว
ข้อดี วัดลายได้แม่นยำเพราะวัดกันตรงๆอยู่แล้ว
ข้อจำกัด ถ้าจะวัดจากลายใต้ขาไอซีจำพวกที่มีขาอยู่ข้างล่าง(พวก Ccont,UEM) ก็ต้องยกไอซีออกก่อน อันนี้จะลำบาก
ถ้าติดกาวก็เลิกทำเลย
-วิธีที่2 วัดความต้านทานของจุดใดจุดหนึ่งเทียบกราวด์ เป็นการวัดความต้านทานรวมในลายนั้นมายังจุดที่วัด
วิธีวัด ตั้งมิเตอร์Rx1k เข็มแดงจิ้มกราวด์เครื่องเข็มดำจิ้มจุดที่สงสัยหรือต้องการวัด บันทึกค่าไว้
จากนั้นสลับเข็มแล้ววัดกันอีกที แล้วนำค่ามาเปรียบเทียบกับที่วัดจากเครื่องดีว่าแตกต่างมากน้อยเพียงใด
ถ้าแตกต่างมากแสดงลายในจุดที่เราวัดมีปัญหาสักอย่างหนึ่งครับ
ข้อดี สามารถวัดและวิเคราะห์ในบางปัญหาในลายที่ผ่านได้โดยไม่ต้องยกอุปกรณ์นั้นออก โดยเฉพาะพวกที่มีขาใต้ไอซี
ข้อจำกัด ต้องวิเคราะห์ร่วมกับวิธีอื่นๆด้วย เพราะเป็นการบอกคร่าวๆว่าลายในวงจรนั้นมีปัญหา ถ้าในลายนั้นมีอุปกรณ์มากก็บำลากหน่อย
บางครั้งต้องใช้พื้นฐานความเข้าใจในการทำงานของอุปกรณ์พื้นฐานเช่นR,L,Cใน วงจรอยู่บ้าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ประกอบครับ
ปกติต้องมีเครื่องดีเป็นตัวคอยเปรียบเทียบครับ
การตรวจสอบไอซีคุมซิม (SIM ASIP)ในกรณีที่ขึ้นอาการ"ใส่ซิมการ์ดค้าง"
เรามาดูวงจรกันก่อนครับ ขอยกตัวอย่างในเครื่อง7260
-ลายซิมประกอบด้วย3ลายหลักคือ Vsim,SIMRST,SIMCLK,SIMIO ซึ่งออกจากUEMไปยังซ็อกเก็ตซิม
-โดยที่ลาย3ตัวหลังผ่านไอซีคุมซิมR2700(เบอร์EMIF03-SIM01F2)โดยตรงครับ
วงจรข้างในตามรูปล่างครับ
-ในR2700จะมีซีเนอร์ไดโอดที่ออกแบบมาสำหรับดักไฟกระชาก(ตัวหัวสามเหลี่ยมมี1ขีด)
ซึ่งมีbeak down voltageอยู่ที่ประมาณ6โวลย์ครับ หมายถึงว่าไฟที่ต่ำกว่า6โวลย์จะเข้าออกได้ตามสบายจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย ก็ได้ครับ
แต่ถ้าไฟมากกว่า6โวลย์มันก็จะยอมให้ไฟเข้าไปในวงจรแค่6โวลย์ครับ ที่เหลือจะระบายในรูปของกระแสไหลผ่านตัวมันลงกราวด์ครับ
โดยในแต่ละลายจะมี2ตัวคอยดักหน้าดักหลังครับ
-ไฟที่ใช้ป้อนให้ซิมทำงานมี2ระดับคือ1.8โวลย์กับ3โวลย์ขึ้นอยู่กับชนิดของซิมครับ ซึ่งไฟระดับนี้ซีเนอร์ไดโอดจะไม่ทำงานครับ
ดังนั้นสัญญาณไฟที่มาจากUEMจึงผ่านR2700ออกไปยังตัวอ่านซิมได้ตามปกติครับ
-นอกจากนี้ยัง มีตัวต้านทานR1,R2,R3 ซึ่งมีค่า47,100,47โอห์มตามลำดับต่อผ่านในแต่ละเส้น
ซึ่งตัวต้านทานเหล่านี้ออกแบบมาโดยจุดประสงค์หลักเพื่อลดทอนความแรงของไฟในกรณีที่มีไฟเกินเข้าครับ
ในกรณีที่ทำงานงานปกติ ไม่(ค่อย)มีผลแต่อย่างใด เพราะความต้านทานที่ตัวซิมสูงมากเป็นระดับหลายหมื่นโอห์มขึ้นไป
ทำให้โวลย์ตกคล่อมที่ตัวRเหล่านี้น้อยมากจนถือว่าไม่มีผลก็ได้ครับ
-ดังนั้นการต่อตรงจึงสามารถใช้งานได้ในสภาพเครื่องทำงานปกติ แต่ถ้ากรณีที่มีไฟกระชากเข้ามาจากตัวอ่านซิม
ก็จะไม่มีตัวใดๆคอยป้องกัน ไฟก็จะเข้าUEM ทำความเสียหายได้ครับ
ทีนี้แนวทางการวัด
-ถ้าวัดตรงอย่างวิธีแรกก็ต้องยกR2700ออกแล้ววัดลายแต่ละข้างครับ ซึ่งไม่เหมาะสม
-กรณีนี้จะใช้วิธีที่2ครับคือวัดเทียบกราวด์เอา ที่แต่ละขาครับ โดยตั้งRx1k
ขาSIMRST,SIMCLK,SIMIOจะได้ค่าความต้านทานเท่ากันหรือใกล้เคียงกันครับ(จากประสบการณ์และที่วัดมา)
โดยต้องวัดสลับกันด้วยนะครับ
-ที่เคยเจอจะเป็นบางลายเข็มจะไม่กระดิก สงสัยตัวต้านทานในR2700ลายนั้นคงขาดครับ
-วิธีนี้ก็สามารถนำมาตรวจสอบเบื้องต้นในกรณีที่เราต่อลายแล้วยังมีปัญหาอยู่ได้เหมือนกัน
หรือแยกแยะปัญหาที่เกิดจากsoftwareหรือhardwareในเครื่องบางรุ่นนะครับ
-ยังสามารถนำไปเช็คกับไอซีคุมปุ่มกด คุมไฟที่มีรูปร่างวงจรเหมือนกับลักษณะนี้ได้ทั้งหมดเลยครับ
การวัดว่าไอซีเสียหรือไม่ ส่วนมากเราดูหรือวัดจากการทำงานของมันครับ ว่าทำงานผิดเพี้ยนไหม
ซึ่งเราจะวัดไฟที่เข้า-ออกตัวมันเวลาที่ทำงานครับ จากต้นทางถึงปลายหรือจากปลายทางถึงต้นทางแล้วแต่กรณี
อุปกรณ์ประเภทไอซีทั่วไปเวลาทำงาน ก็อาศัยไฟดังนี้ครับ
-มีไฟจ่ายเข้าไปเลี้ยง
-มีไฟหรือสัญญาณควบคุมสั่งให้ทำงาน
-มีไฟหรือสัญญาณเข้ามา (Input)
-มีไฟหรือสัญญาณออก (Output)
ซึ่งไอซี1ตัวอาจจะมีไม่ครบทุกอย่างก็ได้แต่อย่างน้อยก็ควรมีไฟเลี้ยง ยกเว้นไอซีประเภทคุมซิม คุมปุ่มกด
โดยอันดับเบื้องต้นก็ต้องหาไฟเลี้ยงก่อนครับเพื่อทำการวัด
ดังนั้นถ้าเราต้องการวัดไอซีตัวใดเสีย เราก็ต้องรู้ว่าไอซีนั้นมีไฟอะไรบ้าง ออกมาเท่าไร ออกมาตอนไหน
ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเหมือนกันครับ บางตัวก็ต้องใช้ประสบการณ์เอาครับ ทำบ่อยแล้วจะรู้ว่าตัวนี้เสียแล้วเป็นอย่างไร
ข้อดี วัดได้แม่นยำเพราะถ้าปลายทางไฟมาตามสเปคก็แสดงว่าน่าไม่เสีย
ข้อจำกัด ต้องพอเข้าใจการทำงานของไอซีบ้างครับ
ถ้าเป็นวงจรที่ซับซ้อนก็ยังยากอยู่เหมือนกันครับ พวกUEM พวกนี้ต้องดูตามอาการแก้ตามอาการครับ
เป็นอาการไหน ก็เช็คตามอาการนั้นก่อน เพราะเป็นวงจรที่รวมเอาหลายวงจรมาอยู่ด้วยกันครับ