ข้อมูลที่ร่วมแบ่งปัน

ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มาเรียนรู้เรื่องการนับขา IC และ Socket กันดีกว่า

มาเรียนรู้เรื่องการนับขา IC และ Socket กันดีกว่า
คงมีเพื่อนๆหลายคนที่ยังนับขาไอซีแบบไม่ถูกต้อง แต่ก็มีหลายคนนับขาเป็นแล้วนะครับ ก็ทนอ่านหน่อยแล้วกัน ตัว IC บนบอร์ดมีด้วยกันหลาย
ประเภท แต่ละประเภทก็นับไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับ IC ด้วย IC บางตัวก็มีการนับแบบเว้นวรรคตัวอักษรด้วย ส่วนซ๊อคเก็ตก็จะนับไม่เหมือนกันอีก ต้องดูที่เงื่อน
ไขอื่นประกอบด้วย บางครั้งมีการนับแบบทางเดียว บางครั้งนับแบบสลับไปมา โดยหลักๆแล้ว IC แบ่งได้แบบนี้นะครับ (ภาษาที่ผมเรียกเองนะครับ)

1. IC แบบขาตะขาบ
2. IC แบบ BGA
3. IC แบบ EMIF
4. ซ๊อคเก็ตแบบต่างๆ


IC แบบขาตะขาบ
IC ประเภทนี้ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างนะครับ เทคนิคการนับ IC แบบขาตะขาบนั้น อย่างแรกเลยเราต้องรู้ จุดมาร์คของ IC ก่อน (โดยปกติจะบอกจุดมาร์คมาให้เลย) อย่างที่
สองให้นับแบบย้อนเข็มนาฬิกา คือนับจากขวาไปซ้ายโดยเริ่มนับจาก จุดมาร์คเป็นจุดเริ่มต้น ตามภาพนะครับ




แต่ ถ้า IC ประเภทขาตะขาบไม่มีการบอกตำแหน่งมาร์คเราจะทำอย่างไร อันนี้ก็ไม่ยากครับ เราต้องเป็นคนกำหนดจุดมาร์คเอง แล้วจะกำหนดยังไงล่ะ การกำหนดจุดมาร์ค
นั้นสามารถกำหนดได้หลายวิธี แล้วแต่เราจะเลือกว่าจะกำหนดจุดไหน โดยต้องดูจากลายวงจรเป็นหลักด้วย (ยกตัวอย่างจากเครื่อง 3100 IC N300)ผมยกตัวอย่างเลยนะครับ ให้เราเลือกจุดมาร์ค
จากตำแหน่งของขา IC (ดูจากลายวงจร) โดยผมเลือกขาที่ 1 ของไอซี N300 ถ้าดูจากลายวงจร ขาที่ 1 ของ N300 จะไปที่ตัว C303 ที่เป็นขาบวก (การต่อ C แบบกรองกระแส ขาหนึ่งจะลงกราวเสมอ)
เมื่อเราเลือกจุดมาร์คเองแล้ว ดูลายวงจรแล้วว่าจุดมาร์คนั้นไปที่ C ตัวไหน ในที่นี้คือ C303 ให้เราดูจากลายวงจรว่าตัว C303 อยู่ตำแหน่งไหนของบอร์ด แล้วเราก็รู้แล้วด้วยว่า C303 ขาด้านหนึ่งจะ
ต่อลงกราว ด้านหนึ่งเป็นไฟบวก ให้เราตั้งมิเตอร์เพื่อวัดลายวงจร โดยตั้งไปที่โหมดเสียง (มิเตอร์เข็มห้ามใช้โหมดเสียงเด็ดขาด) หรือโหมดวัดความต้านทานต่อเนื่อง ให้เราเอาปลายสายมิเตอร์ด้านหนึ่ง
แตะ ที่ขาของตัว C303 ด้านที่เป็นขาบวก แล้วปลายมิเตอร์อีกด้านหนึ่งไปเลือกแตะที่ขาของ IC ขาไหนก่อนก็ได้ ถ้ามิเตอร์มีเสียงหรือเข็มตีสุดที่ขาไหน ก็แสดงว่าขานั้นจะต้องเป็นขา 1 แน่นอน เพราะ
ฉะนั้น เราก็รู้จุดมาร์คของตัว IC แล้ว ก็ให้เราทำการไล่นับขาได้เลย โดยทำการไล่ย้อนเข็มนาฬิกาเสมอ เราก็จะทราบตำแหน่งของขา IC ได้ทุกขา เห็นมั๊ยครับไม่ยากเลย ลองดูตามภาพนะครับ








IC แบบ BGA
IC แบบนี้เป็น IC แบบมีขาแอบอยู่ด้านล่างของตัว IC เอง ต้องทำการยกออกจากวงจรก่อนถึงจะมองเห็นขา การนับขาก็ไม่ยุ่งยากมากครับ เพิ่มตัวอักษรภาษาอังกฤษขึ้นมาอีก 1 ชุด
การนับขา IC แบบนี้ ก็ต้องมีจุดมาร์คที่ตัว IC อีกเหมือนกันและเวลานับก็ต้องนับแบบย้อนเข็มนาฬิกาอีกเหมือนกัน เมื่อเรารู้จุดมาร์คแล้ว เราก็จะรู้จุดเริ่มต้นการวัด โดยจะเริ่มจากขา A1 เสมอ


ตัวอย่างที่ 1



ตัวอย่างที่ 2

หมายเหตุ ถ้า สังเกตุจากภาพตัวอย่างที่ 2 ที่ผมยกตัวอย่างคือ RAP 3G จะมีการนับข้ามอักษรภาษาอังกฤษบางตัวไป เหตุผลก็คือตัวอักษรบางตัวจะคล้ายๆกับสัญลักษณ์หรือตัวเลข
โดยตัวอักษรที่เค้าไม่นับ กันก็มีดังนี้ครับ
I O Q S X Z ให้เรานับข้ามไปเลยนะครับ แล้วก็เวลาดูจุดมาร์คก็ให้ดูจากลายวงจรหรือ ตัว IC เป็นหลักนะครับ สมมุติว่า จุดมาร์คอยู่ มุมล่างซ้าย
เวลา เรายก IC ออกจุดมาร์คที่บอร์ดก็ยังอยู่ ที่ มุมล่างซ้ายอยู่ดี แต่ตัว IC เมื่อเราทำการยกออกมาแล้ว เวลาเรานับก็ต้องนับจากด้านบน(ด้านที่เห็นชื่อ IC)ของ IC เป็นหลักนะครับ แต่ถ้าเราพลิกตัว IC
กลับอีกด้าน (ด้านที่มีขาตะกั่ว) ก็ต้องนับจากมาร์ค ที่ใต้ IC ก็คือจะย้ายไปอยู่ มุมขวาล่าง

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากครับ

free counters

ติดตามบทความเพือเป็นกำลังใจ

ช่วงหลายเดือนมานี้ไม่มีเวลาลงข้อมูลนะครับหาเงินใช้หนี้ก่อนครับ

รูปภาพของฉัน
เชียงใหม่, สารภี, Thailand
ยินดีต้อนรับชาวช่างทุกท่านที่แวะเข้ามากันนะครับ ทักทายกันหน่อยเป็นกำลังใจให้หาอะไรมาแจกอีก รับซ่อมมือถือ MP3 MP4 PDA รับเปิด ปั้ม ทำลูก กุญแจทุกชนิด กุญแจหาย เข้าร้านไม่ได้ เข้าบ้านไม่ได้ ลืมกุญแจไว้ในรถ เราช่วยได้ ไม่รับงานกลางคืนนะครับ หลัง18.00น.ไม่รับงานนอกสถานที กุญแจติดต่อ คุณกรวัฒน์ 089-5606619 ถนนคนเดินสารภีโทรมาได้นะครับไปอยู่.. ตอนนี้พวกโปรแกรมต่อลายถูกทางเวปฝากลบทิ้ง ยังไม่รู้จะมีเวลาแก้ไขเมื่อไรครับช่วงนี้งานเยอะ.. อาจพอมีความรู้อื่นๆให้ดูอยู่บ้างนะครับไม่ว่ากันนะครับ
Powered By Blogger