ข้อมูลที่ร่วมแบ่งปัน

ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า IC ตัวไหนเสีย โดยที่เราไม่ยกอุปกรณ์ออกโดยไม่จำเป็น

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า IC ตัวไหนเสีย โดยที่เราไม่ยกอุปกรณ์ออกโดยไม่จำเป็น

ผมอธิบายแบบนี้นะครับ
การที่เราจะวิเคราะห์อาการเสียของตัว IC แต่ละตัวบนบอร์ดนั้น จะต้องรู้พื้นฐานของโครงสร้างให้เข้าใจดีเสียก่อน ว่าอะไรทำงานก่อนหลัง
ใน ส่วนของเครื่องโนเกียนั้น โครงสร้างของแต่ละรุ่น ค่อนข้างจะคล้ายๆกัน อาจจะมีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้นนิดหน่อย แต่ก็ไม่ถึงกับซับซ้อนมาก
จนยากที่จะความเข้าใจ ถ้าเราตั้งใจจริงไม่ยากหรอกครับ

ทีนี้มาดูก่อนว่าเราจะรู้ได้ยังไงว่า IC ตัวนั้นเสียหรือไม่เสียหรือไม่สมบูรณ์ ลองดูภาพนี้ก่อนนะครับ (ให้นึกถึงหลอดไฟเป็นหลัก)



ถ้า ดูจากภาพนี้ เราจะรู้ได้ทันทีว่าเมื่อหลอดไฟทำงานแล้วจะปล่อย แสงสว่างออกมา แต่ก่อนที่หลอดไฟจะทำงานได้นั้น เราต้องรู้ก่อนว่าหลอดไฟต้องการอะไรบ้าง
ถ้าดูจากภาพ ก่อนที่หลอดไฟจะทำงานได้จะต้อง มี ไฟบวก ไฟลบ สวิชย์ 3 ส่วนประกอบกัน หลอดไฟถึงจะปล่อยแสงสว่างออกมาได้ ทำกับว่าจะได้เป็นสูตรแบบนี้นะครับ


ไฟบวก+ไฟลบ(หรือขากราว)+สวิชย์ = แสงสว่าง
สมมุติ ว่าหลอดไฟดวงนี้ไม่สามารถปล่อยแสงสว่างออกมาได้ เราจะต้องตรวจเช็คอย่างไร (สมมุติว่าเราไม่สามารถถอดหลอดไฟออกมาดู ใส้หลอดได้ ) เราก็จะต้องดูก่อนว่า
หลอดไฟนั้นจะทำงานได้ จะต้องมีส่วนประกอบ 3 อย่าง คือ ไฟบวก ไฟลบ สวิชย์ เราก็ทำการตรวจเช็ค ทั้ง 3 อย่างนี้ว่ามีมาครบหรือเปล่า ถ้าตัวไหนไม่มีหรือ ลายไฟขาด เราก็จะ
ต้อง ทำการต่อลาย หรือถ้าสวิชย์เสียเราก็จะต้องทำการเปลี่ยนสวิชย์ ถ้าเราเช็ค 3 อย่างนี้แล้ว มีครบหมด ลายวงจรไม่ขาด มีไฟมาที่ขาบวก สวิชย์ทำงานได้ ก็แสดงว่าหลอดไฟเสีย
ถูกต้องนะครับ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า"เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหลอดไฟนั้นสมบูรณ์หรือไม่(ไม่ได้บอกว่าหลอดไฟเสียนะครับ)เราก็รู้จากหลอดไฟนั้น "ไม่สามารถปล่อยแสงสว่างออกมาได้"


ถ้า เรามองภาพหลอดไฟออก ว่าทำงานอย่างไร อะไรมาก่อนอะไรมาหลัง เราก็จะสามารถเช็คได้ว่า IC บนบอร์ดนั้นมันสมบูรณ์หรือเปล่า โดยดูว่า เมื่อ IC ตัวนั้นทำงานแล้ว
มันจะปล่อยอะไรออกมา ไม่มี IC ตัวไหนที่ไม่ปล่อยอะไรออกมา เมื่อ IC ได้รับไฟหรือสัญญาณนาฬิกา มันก็จะต้องปล่อยอะไรออกมาให้เรา สามารถเช็คหรือตรวจสอบได้


ผมยกตัวอย่างบนอุปกรณ์ของ เครื่องโนเกีย N70 เลยแล้วกันนะครับ (ดูตามภาพนะครับ เป็นภาพของ RETU )



ถ้า ดูจากภาพทั้ง 2 ภาพ คือภาพหลอดไฟและภาพของ RETU จะเหมือนกันในทุกรายละเอียด คือก่อนที่หลอดไฟหรือ RETU จะทำงานได้จะต้องมีอะไรเข้ามาก่อน
คือ ไฟบวก ไฟลบ สวิชย์ และเมื่อทั้งหลอดไฟและ RETU ได้รับส่วนประกอบที่มันต้องการครบหมดแล้ว ก็จะต้องปล่อยอะไรออกมาเสมอ หลอดไฟปล่อยแสงสว่าง RETU
ปล่อนแรงดันไฟ ถ้าเราต้องการจะรู้ว่า RETU ทำงานได้สมบูรณ์หรือเปล่า เราก็จะต้องวัดสิ่งที่ออกมาจาก RETU คือไฟ VIO 1.8V และไฟ VR 1 2.5 V แต่ถ้าเราวัดแล้ว
ไม่มีไฟออกมาจาก RETU เลย ก็แสดงได้ว่า RETU ทำงานไม่สมบูรณ์ (อย่ามองว่า RETU เสียนะครับ ให้มองว่าทำงานไม่สมบูรณ์ ) เราก็ต้องย้อนไปดูว่า ทำไม RETU
ถึงไม่ปล่อยแรงดันไฟออกมา อาจจะเกิดจาก RETU เอง หรืออาจจะเกิดจาก ไม่มีไฟบวก ไม่มีไฟลบ สวิชย์เสีย ลายวงจรขาด หรือตัว RETU เองเสีย แต่ก่อนที่เราจะยก
RETU ออกจากบอร์ด เราก็ต้องทำการเช็ค ส่วนประกอบที่ RETU ต้องการก่อน ถ้าเช็คแล้วมาครบหมด เราก็ทำการยก RETU ออกมาเปลี่ยนหรือวางกลับเข้าไปใหม่

ช่าง ส่วนมาก พอวัดแล้วไฟบวกมา ไฟลบมา สวิชย์ไม่เสีย ก็จะทำการเปลี่ยนหรือวางกลับเข้าไปใหม่ " แต่จริงๆ แล้วตอนที่เรายก RETU ออกนั้น เราจะต้องเช็คลายวงจร
ใต้ RETU ก่อนด้วยว่าขาดหรือเปล่า แล้วถึงจะทำการวางกลับเข้าไปใหม่
( ไม่งงนะครับ) ถ้าเขียนเป็นสูตรจะได้
ไฟบวก+ไฟลบ(ขากราว)+สวิชย์=ไฟ VIO และไฟ VR1

ทีนี้มาดูจากภาพ ไดอะแกรมของเครื่อง N70 เลยครับ (ภาพของอาจารย์นก Admin )



ภาพ นี้เป็นภาพ ไดอะแกรมหรือโครงสร้างการทำงานในส่วนของภาพ Baseband ของเครื่องโนเกีย N72,N72 ตอนนี้เราพูดถึงว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่า
IC ตัวไหนเสีย เช็คอย่างไร วัดอย่างไร ผมเริ่มด้วย RETU เลยแล้วกันนะครับ (ดูภาพตามไปด้วยนะครับ) ถ้าดูจากภาพ RETU นั้นก่อนจะทำงานได้ จะต้องมี
ไฟ จาก VBAT ผ่านตัว L ทั้งหมด 5 เส้น สวิชย์และลายวงจรของสวิชย์ (Pwronx) ทุกจุดที่กล่าวมาจะวิ่งเข้า RETU เลยทุกเส้น เมื่อ RETU ได้รับส่วนประกอบ
ครบ ตัว RETU ก็จะปล่อยไฟออกมาตามภาพคือ ไฟ VIO ,ไฟ VAUX ,ไฟ VR 1 ,ไฟ VANA ,ไฟ VDRAM ,คำสั่งเปิดเครื่อง PURX , สัญญาณนาฬิกา
SleepClk 32.768 Khz ,คำสั่ง RSTX ( ถ้าดูว่าอะไรเข้า RETU ก็จะมีลูกศรเข้า อะไรออกจาก RETU ก็ดูลูกศรออก )
เมื่อเรารู้แล้วว่าอะไรออกจาก RETU
เราก็สามารถตรวจเช็คได้ว่า RETU ทำงานสมบูรณ์หรือเปล่า

สมมุติ ว่า RETU เมื่อทำงานสมบูรณ์จะปล่อยออกมา 8 ตัว ไม่ว่าจะเป็นแรงดันไฟ คำสั่ง หรือสัญญาณนาฬิกา แต่ถ้าเครื่องตัวนี้เปิดไม่ติด เราก็จะต้องทำการเช็คว่า RETU
ทำงานหรือเปล่า (ปกติ IC จ่ายไฟของเครื่องโทรศัพท์ส่วนมาก จะต้องทำงานก่อน IC ตัวอื่นเสมอ) ถ้าเราอยากรู้ว่า RETU เสียหรือไม่ เราก็ต้องทำการวัดแรงดันไฟหรือสัญญาณ
นาฬิกา ก่อน ถ้าวัดแล้วมาหมดก็แสดงว่า RETU น่าจะทำงานได้สมบูรณ์ในส่วนของภาค BB แต่ถ้าวัดแล้วไม่ออกเลย เราก็ต้องตั้งประเด็นไปที่ RETU แต่ก่อนเราจะยก RETU
เราก็ต้อง วัดส่วนประกอบของ RETU ก่อนว่า RETU ต้องการอะไร ถ้าวัดแล้วมาหมด ทีนี้เราก็ต้องยก RETU ออกจากบอร์ดแล้ว แต่ก่อนจะวางกลับเข้าไป ก็จะต้องเช็คลายวงจร
ใต้ RETU อีกครั้ง ว่าขาดหรือเปล่า เพื่อความมั่นใจ


ผมอธิบายแบบนี้นะครับ (ความเห็นส่วนตัว)
มยกตัวอย่างของตัว SMPS หรือ N4200 เลยแล้วกันนะครับ ( IC ตัวอื่นที่ขึ้นต้นด้วย N ก็จะทำงานคล้ายๆกัน) ตัว SMPS มีหน้าที่การทำงาน
คือ เป็นตัวจ่ายไฟให้กับ IC ต่างๆบนบอร์ด ในกรณีของตัวนี้ SMPS จะปล่อยแรงดันไฟเพื่อไปเลี้ยง OMAP ให้ทำงาน ถ้าตัว SMPS ไม่ปล่อยไฟออกมาตัว
OMAP เองก็จะไม่สามารถทำงานได้ อาการที่เจอบ่อยก็คือ จอขาวค้าง แต่จะไม่พูดถึงอาการนี้นะครับ ตัว SMPS จะทำงานได้จะต้องมีเงื่อนไขบางอย่างเพื่อ
ที่ตัวมันจะทำงานได้ เมื่อมันทำงานแล้ว ก็จะปล่อยไฟ VcoreA 1.4 V ออกมา ( IC ทุกตัวเมื่อมันทำงานแล้วมันจะต้องปล่อยอะไรออกมาเสมอ ) ถ้าเราไม่
สามารถ วัดแรงดันไฟ VcoreA 1.4 V ได้ก็แสดงว่าตัว SMPS ไม่ทำงาน อาจไม่ทำงานเนื่องจากตัวมันเองเสีย หรือ ตัวมันเองไม่เสียแต่ไม่สามารถทำงานได้
เนื่องจากได้รับส่วนประกอบก่อนการทำงานไม่ครบ ที่นี้เรามาดูก่อนว่า ตัว SMPS จะทำงานได้จะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ดูตามภาพประกอบ



ตัว SMPS จะทำงานได้จะต้องมีส่วนประกอบดังนี้ (ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งจะไม่สามารถทำงานได้หรือทำงานได้ไม่สมบูรณ์)
1. จุด แรกเลยก็คือ ไฟ VBAT 3.7 V ที่มาจากแบตเตอรี่ โดยจะผ่านตัว L4201 ก่อนเพื่อลดความเร็วของกระแสไฟ เพื่อที่จะทำให้อุปกรณ์ปลายทางทนแรงดันไฟ
ได้ดีขึ้น เมื่อผ่าน L4201 แล้ว ก็จะผ่านตัว C4202 และ C 4201 เพื่อกรองแรงดันไฟให้เรียบขึ้น
( ตัว C แบบนี้เค้าเรียกว่า การต่อตัว C แบบฟิลเตอร์ )

2. คำ สั่ง RSTX ที่มาจากตัว RETU คำสั่งตัวนี้จะเป็นคำสั่งเพื่อเปิดระบบการทำงานของตัว SMPS เปรียบเสมือนสวิชย์ไฟ คำสั่งตัวนี้เมื่ออยู่ในตัว RETU จะใช้ชื่อว่า RSTX
แต่เมื่อมาเข้าตัว SMPS จะใช้คำว่า EN หรือ Enable แต่จะเป็นเส้นวงจรเดียวกันนะครับ เส้นคำสั่งตัวนี้มาจากตัว RETU (หน้า 4) เส้นนี้จะไม่ผ่านตัว IC อะไรเลยจะเข้า
ตัว SMPS โดยตรง แต่จะมีจุดที่ให้เราวัดคือจุด J2218 ( จุด J จะเป็นจุดสำหรับวัดค่าต่างๆ หรือเรียกว่าจุด Test Point ) คำสั่งเส้นนี้เมื่อเราทำการวัดจะมีแรงดันไฟประมาณ
3.7 V (ไม่ใช่ไฟจากแบตเตอรรี่นะครับ เป็นคนละส่วน) เส้นนี้ถ้าวัดแล้วไม่ออก ตัว SMPS ก็ไม่สามารถทำงานได้


3. จุดนี้จะเป็นจุด สัญญาณนาฬิกา CLK 600 สัญญาณนาฬิกาเส้นนี้มาจากตัว TAHVO (หน้า 5 ) โดยสัญญาณนาฬิกาตัวนี้เมื่อมาจาก TAHVO แล้วก็จะไม่ผ่าน IC อะไรเลย
จะเข้าตัว SMPS โดยตรง แต่ก็จะมีจุด J ให้เราวัดอีกเช่นกัน โดยทำการวัดที่จุด J2305 ( หน้า 5) เส้นที่ 7 ของลายวงจร PUSL จริงๆแล้วตัว SMPS นั้นสร้างสัญญาณ
นาฬิกา CLK 600 ได้เองอยู่แล้ว แต่ต้องมีสัญญาณนาฬิกา CLK600 จาก TAHVO มาด้วย (ในส่วนนี้ไม่ขออธิบายนะครับ แต่ดูได้จากกระทู้นี้ครับ
http://www.wintesla2003.com/smf/index.php?topic=35304.0 )

4. จุดนี้เป็นคำสั่งอีกชุดหนึ่ง ชื่อคำสั่งคือ Ape_SleepX ที่มาจากตัว ............. ที่ใส่เครื่องหมายนี้ก็คือ คำสั่งตัวนี้ถ้าเรามองจากลายวงจรจะมาจาก RAP3G แต่ในความเป็นจริง ผมเคยยก RAP3G ออก
จากบอร์ด แล้วทำการวัด Ape_SleepX ที่จุด J4818 ผลที่ได้คือวัดออกครับ โดยวัดได้ 1.8 V ตามเงื่อนไขเพราะฉนั้นผมยังไม่สรุปว่า มันออกมาจากตัวไหน แต่ที่คิดไว้น่าจะออกจาก OMAP
เพื่อนๆ ใดเจออาการนี้ ถ้าจะต้องทำที่ OMAP ให้ลองวัดที่จุด J4818 ก่อน ถ้าวัดได้ 1.8 V แล้วก็ยก OMAP ออก แล้วลองวัดที่จุดเดิมอีกที ถ้าวัดได้ยังไงก็บอกด้วยนะครับ
เพราะตอนนี้ผมแทบ
ไม่ได้ทำในส่วนของ ฮาร์ดแวร์แล้ว (เน้นซอฟแวร์อย่างเดียว) นอกเรื่องเลย ที่นี้มาดูว่าเส้นนี้ทำงานอย่างไร เส้น Ape_SleepX นั้นเป็นคำสั่งลดแรงดันไฟของตัว SMPS ในสภาวะ Sleep Mode
กล่าวคือ ตอนเครื่องอยู่ในสถาวะ Normal Mode ตัว SMPS จะปล่อยไฟออกมา 1.4 V แต่เมื่อเครื่องเข้า Sleep Mode เมื่อไรแรงดันไฟ VcoreA จะถูกลดลงมาเหลือแค่ 1.05 V เพื่อประหยัด
พลังงาน โดยใช้เส้น Ape_SleepX เป็นตัวกำหนดสภาวะของตัว SMPS


5.จุด นี้จะเป็นจุดที่ตัว SMPS ทำงานแล้วตัวมันเองจะปล่อยแรงดันไฟ VcoreA 1.4 V ออกมา เพื่อไปเลี้ยง OMAP จุดนี้เมื่อออกจากตัว SMPS แล้วจะผ่าน C2242 เพื่อกรองแรงดันไฟก่อนที่จะส่ง
ไปให้ OMAP
(ก่อนเข้า OMAP จะผ่านตัว C แบบฟิลเตอร์อีกหลายตัว เพื่อให้แรงดันไฟที่ไปเลี้ยง OMAP เรียบขึ้น )

แนวทางการซ่อม
ถ้ากรณ๊เราวัดแรงดันไฟ VcoreA 1.4 V ไม่ออก อาการที่เราเจอก็คือ จอขาวค้าง โดยวัดที่ตำแหน่ง ไฟออกจาก SMPS ที่ตำแหน่ง C2242 แล้วถ้าเราวัดไม่ออกละครับ จะต้อง
ไปดูที่ไหน ก็ต้องไปดูที่ตัว SMPS เลยครับ วิธีนี้ก็เป็นวิธีตรวจสอบ IC SMPS ด้วยว่าที่มันไม่ทำงาน นั้นเกิดจากอะไร อาจจะเกิดจากตัวมันเองเสีย หรือเกิดจากตัวมันเองไม่ได้รับอะไรบาง
อย่างที่มันต้องการ จำไว้เสมอนะครับ IC อะไรก็ตามก่อนจะทำงานได้จะต้อง มีอะไรเข้าก่อนเสมอ และเมื่อเข้าตัวมันแล้วก็จะต้องมีอะไรออกมาเสมอ
ลองนึกถึงหลอดไฟแล้วกันครับ ตัวหลอดไฟเองก่อนที่มันจะทำงานได้ จะต้องมีอะไรบ้างครับ ก็จะต้องมี 1.สวิชย์ 2.แรงดันไฟ AC 220 V เมื่อตัวหลอดไฟเองได้รับครบทั้ง
2 อย่าง ตัวหลอดเองก็จะปล่อยแสงสว่างออกมา นั้นคือตัวหลอดทำงานสมบูรณ์ ถึงปล่อยแสงสว่าง แต่ถ้าหลอดไฟไม่ติดล่ะครับ เราจะต้องดูอะไร ยังไงก็ต้องลองเปลี่ยนหลอดไฟก่อน
(ถ้ามองเห็นว่าใส้หลอดขาด ) ถ้าเปลี่ยนหลอดแล้วไม่หาย ที่นี้เราก็ต้องไล่ย้อนไปดูในส่วนของ แรงดันไฟ AC 220V กับสวิชย์แล้วล่ะครับ การไล่แบบนี้ก็เหมือนกับการเช็ค IC โทรศัพท์
เหมือนกัน ครับ คือถ้าไม่ออก ก็ต้องไล่ย้อนกลับไปดูว่า ที่ไม่ออกนั้น ไม่ออก จากสาเหตุใด

กรณี นี้ถ้าผมวัดไฟ VcoreA ไม่ออก อย่างแรกเลย ถ้าเป็นผมทำ ผมจะยังไม่ยก SMPS ออก ผมจะเช็คส่วนประกอบ ก่อนการทำงานของตัว SMPS ก่อน ( 4 อย่าง) ถ้าผมเช็คทั้ง
4 อย่างแล้ว มาหมด (วัดโดยไม่ยก SMPS ) ผมก็จะทำการยก SMPS ออกเลย เมื่อยกแล้วจะเปลี่ยนหรือใช้ตัวเก่า ก่อนวางผมจะเช็คลายวงจรจากด้านใต้ IC ก่อนทำการวางเสมอ
เช็คเพื่ออะไร ครับ เช็คเพื่อให้แน่นใจว่า ส่วนประกอบทั้ง 4 อย่าง เข้าที่ใต้ SMPS แน่นอน ผมถึงจะทำการวาง SMPS ครับ ที่ทำอย่างนี้ก็เพราะจะได้ไม่พลาดง่ายๆ ใครเคยเปลี่ยน SMPS
เท่าไรก็ไม่หาย ที่ไม่หายอาจจะเจอเส้น VBAT ขาดก็ได้ครับ เปลี่ยน 10 ตัวก็ไม่หาย เพราะไม่มีไฟมาเลี้ยง เป็นต้น

ลองดูเป็นแนวทางครับ ( ใครเพิ่มเติมอะไรก็ได้นะครับ ช่วยๆกัน)
สรุปได้ว่า ถ้าอ่านเข้าใจแล้วก็จะสามารถตรวจเช็คได้เลย ว่าจะต้องเช็ต IC อย่างไร โดยดูจาก ลูกศรที่ออกจาก IC ตัวนั้น

3 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอขอบคุณสำหรับน้ำใจ ที่พี่กรวัฒน์ ได้ให้สิ่งที่มีค่ามากคือความรู้ แก่ผู้ที่ต้องการค้นหาความรู้และพัฒนาตัวเองในงานซ่อมมือถือ และจะติดตามพี่ตลอดไป ขอเป็นกำลังใจให้พี่ สู้ ๆ ต่อไปน่ะครับ เด็กระนอง

กรวัฒน์ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ได้รับความรูู้้เป็นวิทยาทานขอสนับสนุนอีกหนึ่งกำลังใจให้แก่ผู้เขียน

free counters

ติดตามบทความเพือเป็นกำลังใจ

ช่วงหลายเดือนมานี้ไม่มีเวลาลงข้อมูลนะครับหาเงินใช้หนี้ก่อนครับ

รูปภาพของฉัน
เชียงใหม่, สารภี, Thailand
ยินดีต้อนรับชาวช่างทุกท่านที่แวะเข้ามากันนะครับ ทักทายกันหน่อยเป็นกำลังใจให้หาอะไรมาแจกอีก รับซ่อมมือถือ MP3 MP4 PDA รับเปิด ปั้ม ทำลูก กุญแจทุกชนิด กุญแจหาย เข้าร้านไม่ได้ เข้าบ้านไม่ได้ ลืมกุญแจไว้ในรถ เราช่วยได้ ไม่รับงานกลางคืนนะครับ หลัง18.00น.ไม่รับงานนอกสถานที กุญแจติดต่อ คุณกรวัฒน์ 089-5606619 ถนนคนเดินสารภีโทรมาได้นะครับไปอยู่.. ตอนนี้พวกโปรแกรมต่อลายถูกทางเวปฝากลบทิ้ง ยังไม่รู้จะมีเวลาแก้ไขเมื่อไรครับช่วงนี้งานเยอะ.. อาจพอมีความรู้อื่นๆให้ดูอยู่บ้างนะครับไม่ว่ากันนะครับ
Powered By Blogger