ตัวต้านทานหรือตัว R ( Resistor )
ตัวต้านทาน หรือ ตัว R ที่เราเห็นกันในบอร์ดให้เต็มไปหมด น้อยคนที่จะรู้จักตัว R อย่างเข้าใจ ตัว R (Resistor) เป็นตัวต้านทานมีหน่วยเป็น โอห์ม ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นตัวต้านทาน
ถ้าเรานำตัว R มาใช้ในวงจร หน้าที่ของมันก็คือ ลดแรงดันไฟฟ้าและลดกระแสไฟฟ้า เช่น เมื่อเรามีแบตหนึ่งก้อนแรงดันไฟ 6 V แต่เราต้องการจะต่อกับหลอดไฟที่ใช้แรงดัน 3 V
ถ้า เราต่อตรงเลยหลอดไฟก็จะขาด เพราะฉะนั้นเราต้องใช้ตัวช่วยที่จะช่วยลดแรงดันและกระแสไฟฟ้านั้นก็คือตัว R นั่นเอง ไฟจ่ายมา 6 V ต่อผ่านตัว R มันก็จะทำให้แรงดันนั้นลดลงเหลือแค่ 3 V หลอดไฟก็จะใช้ได้ไม่ขาด
ความรู้เพิ่มเติม!
ถ้าค่า R มีค่ามาก ก็จะลดแรงดันไฟฟ้าได้มาก (ทำให้แรงดันไฟออกมาน้อย)
ถ้าค่า R มีค่าน้อย ก็จะลดแรงดันไฟฟ้าได้น้อย
วิธีการอ่านค่า R อย่างง่ายในวงจรโทรศัพท์ ปกติตัว R มีหลายประเภท แต่ผมจะพูดถึง R ที่อยู่ในวงจรโทรศัพท์ ถ้าเราดูในลายวงจรของแต่ละรุ่นจะมีค่า R บอกอยู่ที่ตัวมันเองอยู่แล้ว
ทีนี้เรามาดูค่า R กันก่อนว่าค่า R มีอะไรบ้าง
ค่า R 1000 โอห์ม เท่ากับ 1 k โอห์ม
ค่า R 1000k โอห์ม เท่ากับ 1M โอห์ม มาถึงตรงนี้แล้วไม่งงนะครับ ทำความเข้าใจให้ดีครับ ถ้าเข้าใจแล้วจะเข้าใจเลย
ในวงจรโทรศัพท์ ถ้าตัว R ที่มีขนาดเล็กมาก(ตัวเล็กๆสีดำ) จะไม่มีตัวเลขกำกับ ค่าความต้านทาน เราจะต้องดูจากวงจรเท่านั้น แต่ถ้าตัว R ที่มีขนาดพอที่จะใส่ค่าในตัวมันได้ ก็อ่านค่าได้เลย
ถ้าค่าเป็น 3R9 เวลาอ่านค่าจะได้ 3.9 โอห์ม ถ้ามีตัวอักษร R อยู่ตรงกลางระหว่างเลขให้เราใช้มันเป็นค่า จุดทศนิยมในตำแหน่งกลาง เช่น ค่า 4R7 เวลาอ่านค่าจะได้ 4.7 โอห์ม ไม่งงนะครับ
ถ้าค่าเป็น R22 เวลาอ่านค่าจะได้ 0.22 โอห์ม ถ้ามีตัวอักษร R อยู่ข้างหน้าเลขจะใช้แทนเลขจุดทศนิยมในตำแหน่งหน้าเลข เช่น R35 เวลาอ่านค่าจะได้ 0.35 โอห์ม (ถ้าไม่เข้าใจอ่านให้เข้าใจนะครับ)
ถ้าค่าเป็น 102 เวลาอ่านค่าจะได้ 1000 โอห์ม หรือ 1k วิธี อ่านก็คือ เลขสองตัวหน้าคือ 10 เลขตัวที่สาม คือ 2 ( เลข 2 ก็คือจำนวน ศูนย์ 2 ตัวนั่นเอง) เพราะฉะนั้น 10 เติมศูนย์ 2 ตัว ก็จะได้ 1000 โอห์ม หรือ 1 k
ถ้าค่าเป็น 4k7 เวลาอ่านค่าจะได้ 4.7 k โอห์ม ถ้ามีตัวอักษร k อยู่ตรงกลางระหว่างเลข ให้แทนเป็นจุดทศนิยมเหมือนกับหัวข้อ ที่ 1 แต่ตัวลงท้ายมีหน่วยเป็น k โอห์มเท่านั้นเอง เช่น 2k4 ค่าที่อ่านได้ก็จะเป็น 2.4 k โอห์ม
ทีนี้มาดูการตั้งค่ามิเตอร์เข็ม ที่ใช้สำหรับวัดค่า R กันครับ
ต่อไปมาดูการตั้งค่ามิเตอร์ ว่าจะตั้งค่าเท่าไรในการวัดตัว R ก่อนจะทำตามนี้ต้องเข้าใจในการอ่านค่าตัว R ให้ดีก่อนและก็ต้องรู้ว่าค่า กี่ โอห์มเป็น 1 k (ถ้ายังไม่เข้าใจอย่าพึ่งวัดนะครับ เดี๋ยว งง ไปใหญ่ )
ถ้าค่าตัว R มีค่าตั้งแต่ 0.1 โอห์ม - 100 โอห์ม ให้ตั้งค่ามิเตอร์ที่ X 1
ถ้าค่าตัว R มีค่าตั้งแต่ 10 โอห์ม - 1k โอห์ม ให้ตั้งค่ามิเตอร์ที่ X 10
ถ้าค่าตัว R มีค่าตั้งแต่ 100 โอห์ม - 10k โอห์ม ให้ตั้งค่ามิเตอร์ที่ X 100
ถ้าค่าตัว R มีค่าตั้งแต่ 1k โอห์ม - 100k โอห์ม ให้ตั้งค่ามิเตอร์ที่ X 1k
ถ้าค่าตัว R มีค่าตั้งแต่ 100k โอห์ม - 20M โอห์ม ให้ตั้งค่ามิเตอร์ที่ X10k
การวัดค่า R นั้นสามารถวัดในวงจรก็ได้ แต่ไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการต่อภายในวงจรด้วย
ที่ สำคัญก่อนทำการวัดเราจะต้องรู้ค่าของตัว R ก่อน แล้วถึงจะทำการวัด แต่การวัดด้วย มิเตอร์เข็ม ไม่ใช่ว่าเรา รู้ค่า R แล้ว รู้วิธิการตั้งค่ามิเตอร์แล้วจะทำการวัดได้เลย ต้องทำการเทียบสอบมิเตอร์เข็มก่อนทุกครั้ง
เพื่ออะไรหรือครับ ถ้าเราไม่ทำการเทียบสอบมิเตอร์เข็ม ก่อนทำการวัดจะทำให้เรา วัดค่า R เพี้ยนไปนะครับ แต่ถ้าเป็นมิเตอร์ดิจิตอล ก็ง่ายครับ ทีนี้เรามาดูวิธี " การเทียบสอบมิเตอร์เข็มกันก่อน "
การเทียบสอบมิเตอร์เข็ม
การเทียบสอบมิเตอร์เข็ม นั้นสำคัญเหมือนกันนะครับ เพราะถ้าเราไม่เทียบสอบค่าที่เราวัดจะเพี้ยนหมด วิธีการเทียบสอบทำโดยการนำสายมิเตอร์ ดำ-แดงมาชนกัน แล้ว ต้องให้ได้ค่า 0 โอห์ม (เข็มตีไปสุดด้านขวามือ)
ตัวปรับค่าแล้วทำให้อยู่ตำแหน่ง 0 โอห์ม ต้องทำทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนค่ามิเตอร์ เช่นถ้าเราตั้ง X1 แล้วเราต้องการวัดที่ X10 ก็ต้องตั้งค่าทุกครั้ง ลองทำตามเลยนะครับ แล้วจะรู้ว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิด แต่ถ้าเรานำสายมิเตอร์
ดำ-แดง มาแตะกันแล้ว สเกลที่เข็มตีไม่สุด อาจจะเกิดจาก ถ่านในมิเตอร์เอง หรืออาจจะเกิดจาก วงจรภายในของมิเตอร์มีปัญหา ( ถ้าให้ดีใช้มิเตอร์ แท้ น่าจะทนกว่า )
ความรู้เพิ่มเติม!
ถ้าเราวัดตัว R แล้วได้ค่าตามวงจรก็ปกติครับ แต่ถ้าเราวัดตัว R แล้ว มีค่ามากกว่าตามวงจร แสดงว่า R ตัวนั้น ยืดค่า หรือถ้าวัดแล้วไม่เกิดอะไรขึ้นแสดงว่า R ขาด ครับ
เป็นไงบ้างครับ ยังงงอยู่หรือเปล่า อย่าลืมตั้งค่ามิเตอร์ให้ถูกต้องนะครับ สำคัญมาก ตัว R ดี ตั้งค่ามิเตอร์ผิดทำให้ งมเข็มได้นะครับ
เทคนิค !
ถ้าเราวัดตัว R แล้ว ค่าไม่ขึ้นอะไรเลย อย่างนี้เขาเรียกว่า R ขาด ต้องเปลี่ยนสถานเดียว
ถ้าเราวัดตัว R แล้ว ค่าที่ได้สูงกว่าค่าของตัวมัน อย่างนี้เขาเรียกว่า R ยืดค่า ต้องเปลี่ยนเหมือนกัน โดยปกติ R ที่ยืดค่านั้น จะมากกว่าประมาณ 2-3 เท่า
ตัวต้านทาน หรือ ตัว R ที่เราเห็นกันในบอร์ดให้เต็มไปหมด น้อยคนที่จะรู้จักตัว R อย่างเข้าใจ ตัว R (Resistor) เป็นตัวต้านทานมีหน่วยเป็น โอห์ม ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นตัวต้านทาน
ถ้าเรานำตัว R มาใช้ในวงจร หน้าที่ของมันก็คือ ลดแรงดันไฟฟ้าและลดกระแสไฟฟ้า เช่น เมื่อเรามีแบตหนึ่งก้อนแรงดันไฟ 6 V แต่เราต้องการจะต่อกับหลอดไฟที่ใช้แรงดัน 3 V
ถ้า เราต่อตรงเลยหลอดไฟก็จะขาด เพราะฉะนั้นเราต้องใช้ตัวช่วยที่จะช่วยลดแรงดันและกระแสไฟฟ้านั้นก็คือตัว R นั่นเอง ไฟจ่ายมา 6 V ต่อผ่านตัว R มันก็จะทำให้แรงดันนั้นลดลงเหลือแค่ 3 V หลอดไฟก็จะใช้ได้ไม่ขาด
ความรู้เพิ่มเติม!
ถ้าค่า R มีค่ามาก ก็จะลดแรงดันไฟฟ้าได้มาก (ทำให้แรงดันไฟออกมาน้อย)
ถ้าค่า R มีค่าน้อย ก็จะลดแรงดันไฟฟ้าได้น้อย
วิธีการอ่านค่า R อย่างง่ายในวงจรโทรศัพท์ ปกติตัว R มีหลายประเภท แต่ผมจะพูดถึง R ที่อยู่ในวงจรโทรศัพท์ ถ้าเราดูในลายวงจรของแต่ละรุ่นจะมีค่า R บอกอยู่ที่ตัวมันเองอยู่แล้ว
ทีนี้เรามาดูค่า R กันก่อนว่าค่า R มีอะไรบ้าง
ค่า R 1000 โอห์ม เท่ากับ 1 k โอห์ม
ค่า R 1000k โอห์ม เท่ากับ 1M โอห์ม มาถึงตรงนี้แล้วไม่งงนะครับ ทำความเข้าใจให้ดีครับ ถ้าเข้าใจแล้วจะเข้าใจเลย
ในวงจรโทรศัพท์ ถ้าตัว R ที่มีขนาดเล็กมาก(ตัวเล็กๆสีดำ) จะไม่มีตัวเลขกำกับ ค่าความต้านทาน เราจะต้องดูจากวงจรเท่านั้น แต่ถ้าตัว R ที่มีขนาดพอที่จะใส่ค่าในตัวมันได้ ก็อ่านค่าได้เลย
ถ้าค่าเป็น 3R9 เวลาอ่านค่าจะได้ 3.9 โอห์ม ถ้ามีตัวอักษร R อยู่ตรงกลางระหว่างเลขให้เราใช้มันเป็นค่า จุดทศนิยมในตำแหน่งกลาง เช่น ค่า 4R7 เวลาอ่านค่าจะได้ 4.7 โอห์ม ไม่งงนะครับ
ถ้าค่าเป็น R22 เวลาอ่านค่าจะได้ 0.22 โอห์ม ถ้ามีตัวอักษร R อยู่ข้างหน้าเลขจะใช้แทนเลขจุดทศนิยมในตำแหน่งหน้าเลข เช่น R35 เวลาอ่านค่าจะได้ 0.35 โอห์ม (ถ้าไม่เข้าใจอ่านให้เข้าใจนะครับ)
ถ้าค่าเป็น 102 เวลาอ่านค่าจะได้ 1000 โอห์ม หรือ 1k วิธี อ่านก็คือ เลขสองตัวหน้าคือ 10 เลขตัวที่สาม คือ 2 ( เลข 2 ก็คือจำนวน ศูนย์ 2 ตัวนั่นเอง) เพราะฉะนั้น 10 เติมศูนย์ 2 ตัว ก็จะได้ 1000 โอห์ม หรือ 1 k
ถ้าค่าเป็น 4k7 เวลาอ่านค่าจะได้ 4.7 k โอห์ม ถ้ามีตัวอักษร k อยู่ตรงกลางระหว่างเลข ให้แทนเป็นจุดทศนิยมเหมือนกับหัวข้อ ที่ 1 แต่ตัวลงท้ายมีหน่วยเป็น k โอห์มเท่านั้นเอง เช่น 2k4 ค่าที่อ่านได้ก็จะเป็น 2.4 k โอห์ม
ทีนี้มาดูการตั้งค่ามิเตอร์เข็ม ที่ใช้สำหรับวัดค่า R กันครับ
ต่อไปมาดูการตั้งค่ามิเตอร์ ว่าจะตั้งค่าเท่าไรในการวัดตัว R ก่อนจะทำตามนี้ต้องเข้าใจในการอ่านค่าตัว R ให้ดีก่อนและก็ต้องรู้ว่าค่า กี่ โอห์มเป็น 1 k (ถ้ายังไม่เข้าใจอย่าพึ่งวัดนะครับ เดี๋ยว งง ไปใหญ่ )
ถ้าค่าตัว R มีค่าตั้งแต่ 0.1 โอห์ม - 100 โอห์ม ให้ตั้งค่ามิเตอร์ที่ X 1
ถ้าค่าตัว R มีค่าตั้งแต่ 10 โอห์ม - 1k โอห์ม ให้ตั้งค่ามิเตอร์ที่ X 10
ถ้าค่าตัว R มีค่าตั้งแต่ 100 โอห์ม - 10k โอห์ม ให้ตั้งค่ามิเตอร์ที่ X 100
ถ้าค่าตัว R มีค่าตั้งแต่ 1k โอห์ม - 100k โอห์ม ให้ตั้งค่ามิเตอร์ที่ X 1k
ถ้าค่าตัว R มีค่าตั้งแต่ 100k โอห์ม - 20M โอห์ม ให้ตั้งค่ามิเตอร์ที่ X10k
การวัดค่า R นั้นสามารถวัดในวงจรก็ได้ แต่ไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการต่อภายในวงจรด้วย
ที่ สำคัญก่อนทำการวัดเราจะต้องรู้ค่าของตัว R ก่อน แล้วถึงจะทำการวัด แต่การวัดด้วย มิเตอร์เข็ม ไม่ใช่ว่าเรา รู้ค่า R แล้ว รู้วิธิการตั้งค่ามิเตอร์แล้วจะทำการวัดได้เลย ต้องทำการเทียบสอบมิเตอร์เข็มก่อนทุกครั้ง
เพื่ออะไรหรือครับ ถ้าเราไม่ทำการเทียบสอบมิเตอร์เข็ม ก่อนทำการวัดจะทำให้เรา วัดค่า R เพี้ยนไปนะครับ แต่ถ้าเป็นมิเตอร์ดิจิตอล ก็ง่ายครับ ทีนี้เรามาดูวิธี " การเทียบสอบมิเตอร์เข็มกันก่อน "
การเทียบสอบมิเตอร์เข็ม
การเทียบสอบมิเตอร์เข็ม นั้นสำคัญเหมือนกันนะครับ เพราะถ้าเราไม่เทียบสอบค่าที่เราวัดจะเพี้ยนหมด วิธีการเทียบสอบทำโดยการนำสายมิเตอร์ ดำ-แดงมาชนกัน แล้ว ต้องให้ได้ค่า 0 โอห์ม (เข็มตีไปสุดด้านขวามือ)
ตัวปรับค่าแล้วทำให้อยู่ตำแหน่ง 0 โอห์ม ต้องทำทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนค่ามิเตอร์ เช่นถ้าเราตั้ง X1 แล้วเราต้องการวัดที่ X10 ก็ต้องตั้งค่าทุกครั้ง ลองทำตามเลยนะครับ แล้วจะรู้ว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิด แต่ถ้าเรานำสายมิเตอร์
ดำ-แดง มาแตะกันแล้ว สเกลที่เข็มตีไม่สุด อาจจะเกิดจาก ถ่านในมิเตอร์เอง หรืออาจจะเกิดจาก วงจรภายในของมิเตอร์มีปัญหา ( ถ้าให้ดีใช้มิเตอร์ แท้ น่าจะทนกว่า )
ความรู้เพิ่มเติม!
ถ้าเราวัดตัว R แล้วได้ค่าตามวงจรก็ปกติครับ แต่ถ้าเราวัดตัว R แล้ว มีค่ามากกว่าตามวงจร แสดงว่า R ตัวนั้น ยืดค่า หรือถ้าวัดแล้วไม่เกิดอะไรขึ้นแสดงว่า R ขาด ครับ
เป็นไงบ้างครับ ยังงงอยู่หรือเปล่า อย่าลืมตั้งค่ามิเตอร์ให้ถูกต้องนะครับ สำคัญมาก ตัว R ดี ตั้งค่ามิเตอร์ผิดทำให้ งมเข็มได้นะครับ
เทคนิค !
ถ้าเราวัดตัว R แล้ว ค่าไม่ขึ้นอะไรเลย อย่างนี้เขาเรียกว่า R ขาด ต้องเปลี่ยนสถานเดียว
ถ้าเราวัดตัว R แล้ว ค่าที่ได้สูงกว่าค่าของตัวมัน อย่างนี้เขาเรียกว่า R ยืดค่า ต้องเปลี่ยนเหมือนกัน โดยปกติ R ที่ยืดค่านั้น จะมากกว่าประมาณ 2-3 เท่า
ตัวอย่างตัว R ( อยู่ในวงจรของ 3100 เป็นตัว R306 มีค่าเท่ากับ 27 K ) ลองวัดตามนะครับ
ภาพจากโทรศัพท์จริงๆ
วิธีการวัด
คำถาม ตัว R ที่เห็นในภาพ เป็น R ที่มีค่า 27 K เราต้องตั้ง ค่ามิเตอร์เข็มที่เท่าไรครับ ถ้าตั้งค่าถูกแล้ว ก็เริ่มวัดเลยครับ
แต่ถ้าเป็นมิเตอร์ดิจิตอล ก็สามารถทำการวัดได้เลย ตัว R ตัวนี้สามารถวัดในวงจรได้ครับ ไม่ต้องถอดมาวัดนอกวงจร " แต่ถ้าให้ดี เพื่อกันลืม ควรถอดมาวัดนอกวงจร"
ความรู้เพิ่มเติม !
มิเตอร์ นั้น สามารถแบ่งได้แบบนี้นะครับ มิเตอร์เข็ม อันนี้เพื่อนๆรู้จักกันดี อันนี้ไม่ต้องอธิบายมากนะครับ มิเตอร์ดิจิตอล จริงๆแล้วมิเตอร์ดิจิตอล เป็นมิเตอร์ที่มีการวัดค่าได้แบบ ออโต
คือ เราปรับค่ามิเตอร์ ไปที่การวัดค่าตัว R หรือ โหมดโอห์ม เมื่อเราทำการวัด โดยจิ้มสายมิเตอร์ทั้ง 2 เส้น ไปที่ตัว R ค่าที่ได้จะแสดงผลทันที ( ต้องดูความสามารถของมิเตอร์ตัวเองก่อนนะครับ
ว่า ความสามารถของ มิเตอร์ที่ใช้อยู่ สามารถวัดค่า R ได้ต่ำสุดเท่าไร สูงสุดเท่าไร (เช่นมิเตอร์ Unit t70B ) จะมีมิเตอร์ดิจิตอลอีกประเภทหนึ่ง ( พวกมิเตอร์ถูกๆ ) มิเตอร์พวกนี้ยังไม่ถือว่าเป็นมิเตอร์
ดิจิตอลเหมือน แบบแรก ( ความเห็นของผมนะครับ ) เพราะมิเตอร์พวกนี้ มีการแสดงผลเป็นดิจิตอลจริง แต่เราต้องมาปรับสเกล เหมือน มิเตอร์เข็ม เพราะฉนั้น มิเตอร์พวกนี้ ถือเป็นพวกเดียวกับมิเตอร์
เข็ม แต่การแสดงผลต่างกันคือ มิเตอร์เข็มแสดงผลแบบ สเกล ,มิเตอร์ดิจิตอลแบบถูก มีการแสดงผลแบบดิจิตอล
ภาพจากโทรศัพท์จริงๆ
วิธีการวัด
คำถาม ตัว R ที่เห็นในภาพ เป็น R ที่มีค่า 27 K เราต้องตั้ง ค่ามิเตอร์เข็มที่เท่าไรครับ ถ้าตั้งค่าถูกแล้ว ก็เริ่มวัดเลยครับ
แต่ถ้าเป็นมิเตอร์ดิจิตอล ก็สามารถทำการวัดได้เลย ตัว R ตัวนี้สามารถวัดในวงจรได้ครับ ไม่ต้องถอดมาวัดนอกวงจร " แต่ถ้าให้ดี เพื่อกันลืม ควรถอดมาวัดนอกวงจร"
ความรู้เพิ่มเติม !
มิเตอร์ นั้น สามารถแบ่งได้แบบนี้นะครับ มิเตอร์เข็ม อันนี้เพื่อนๆรู้จักกันดี อันนี้ไม่ต้องอธิบายมากนะครับ มิเตอร์ดิจิตอล จริงๆแล้วมิเตอร์ดิจิตอล เป็นมิเตอร์ที่มีการวัดค่าได้แบบ ออโต
คือ เราปรับค่ามิเตอร์ ไปที่การวัดค่าตัว R หรือ โหมดโอห์ม เมื่อเราทำการวัด โดยจิ้มสายมิเตอร์ทั้ง 2 เส้น ไปที่ตัว R ค่าที่ได้จะแสดงผลทันที ( ต้องดูความสามารถของมิเตอร์ตัวเองก่อนนะครับ
ว่า ความสามารถของ มิเตอร์ที่ใช้อยู่ สามารถวัดค่า R ได้ต่ำสุดเท่าไร สูงสุดเท่าไร (เช่นมิเตอร์ Unit t70B ) จะมีมิเตอร์ดิจิตอลอีกประเภทหนึ่ง ( พวกมิเตอร์ถูกๆ ) มิเตอร์พวกนี้ยังไม่ถือว่าเป็นมิเตอร์
ดิจิตอลเหมือน แบบแรก ( ความเห็นของผมนะครับ ) เพราะมิเตอร์พวกนี้ มีการแสดงผลเป็นดิจิตอลจริง แต่เราต้องมาปรับสเกล เหมือน มิเตอร์เข็ม เพราะฉนั้น มิเตอร์พวกนี้ ถือเป็นพวกเดียวกับมิเตอร์
เข็ม แต่การแสดงผลต่างกันคือ มิเตอร์เข็มแสดงผลแบบ สเกล ,มิเตอร์ดิจิตอลแบบถูก มีการแสดงผลแบบดิจิตอล
1 ความคิดเห็น:
พื้นหลังทำให้อ่านยากมากเลยค่าควรทำเป็นแบบไม่มีลวดลาย
แสดงความคิดเห็น