ข้อมูลที่ร่วมแบ่งปัน

ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการอ่านลายวงจรสำหรับรุ่น DCT4

ขอขอบคุณอาจารย์นก Admin แห่งเวป wintesla 2003
ที่ได้มอบความรู้ให้กับทุกท่านไว้นะที่นี้ด้วยครับ

ลายวงจรจากขั้วแบต (ขั้วบวกหรือ VBAT ไปขา UEM)

ทำ ความเข้าใจกัีนก่อนนะครับ สไตล์การสอน การทำสื่อของผมไม่เหมือนใคร ผมจะสอนลงลึกถึงขาไอซี ซึ่งเป็นการย้อนแนวคิดของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ ว่าวิศวกรออกแบบวงจรโทรศัพท์มาอย่างไร และถ้าเราศึกษาลายวงจรอย่างละเอียดจนลึกถึงขาไอซีได้แล้ว ในการซ่อมจริงๆ การที่จะวัดขาไอซีแบบนี้ จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการซ่อม เปรียบเสมือนคนไข้ได้รับยาทุกขนานแล้วยังแก้อาการไข้ไม่หาย ขั้นสุดท้ายไม่มีทางเลือกถึงขั้นต้องผ่าตัดแล้ว ดังนั้นไม่ใช่ทุกครั้งที่ซ่อมมือถือจะต้องยกไอซีมาวัดลายวงจรแบบนี้ แต่การฝึกในแบบนี้จะทำให้ท่านเข้าใจวงจรไปตลอดชีวิตของการเป็นช่างซ่อม หรือนำไปประยุกต์ใช้กับอีเลคทรอนิคส์สาขาอื่นๆได้อย่างง่ายขึ้น ศึกษาได้ทุกระดับ
ต่อ ไปนี้จะเป็นเทคนิคการสอนอ่านลายวงจร โดยการนำประสบการณ์ที่สอนซ่อมมือถือมาหลายปี มาชี้แนะให้ท่านที่สนใจอ่านลายวงจรได้เข้าใจถึงวิธีการอ่านลายวงจรอย่าง ละเอียด และัผมจะไม่ทำสัญลักษณ์ใดๆ แสดงความเป็นเจ้าของสิทธิ์ เพราะยินดีให้นำสื่อการเรียนนี้ ไปใช้ประโยชน์ได้ทุกคน ทุกระดับ โดยเฉพาะมือใหม่หัดเรียนรู้เรื่องวงจร

ก่อน อื่นจะต้องเตรียมสื่อการเรียนให้ใกล้เคียงกับในห้องอบรมที่ผมสอน ขอใฃ้วงจรรุ่น 3100 (DCT4) ซึ่งเป็นรุ่นที่ผมใช้สอนเบสิึคสำหรับการอ่านลายวงจร จ่ายไฟ วัดไฟ

ดาวน์โหลด : ลายวงจรรุ่น 3100

  • เพื่อ ให้ผลการเรียนรู้ลายวงจรได้รวดเร็วและละเอียดได้ประโยชน์สูงสุดแนะนำให้นำ ลายวงจรที่ดาวน์โหลดได้ไปพิมพ์ด้วยเดรื่องเลเซอร์พริ๊นเตอร์ขนาด A3 ถ้าไม่นำไปพิมพ์ด้วยเลเซอร์พริ๊นเตอร์จะต้่องดูลายวงจรด้วย Acrobat Reader หรือ Foxit Reader ซึ่งจะไม่สะดวกเพราะการดูลายวงจรผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์จะดูไม่ชัดเจน การดูผ่านจอคอมพิวเตอร์ จะเหมาะกับการดูลายวงจรเฉพาะจุด หรือขยายภาพให้ใหญ่ แต่การดูลายวงจรบนกระดาษ A3 จะเห็นเส้นทางของวงจรจากซ้ายสุดมาขวาสุด หรือบนสุดมาล่างสุดได้เต็ม ๆ ส่วนราคาการพิมพฺ์ลายวงจรกระดาษ A3 ด้วยเครื่องพริ๊นเตอร์ ผมไม่ทราบราคาแล้วแต่พื้นที่บางพื้นที่ก็แผ่นละ 10 กว่าบาท บางพื้นที่ก็แผ่นละ 8 หรือ 6 บาท หรือใครมีราคาต่ำกว่านี้ก็แนะนำเพื่อนๆ ด้วย
  • แผง วงจร รุ่น 3100 ถ้ามีแผงเปล่ายิ่งดี แต่ถ้าหาไม่ได้แนะนำให้หาแผงเก่าๆ ที่ยก UEM ออกไปแล้วเพื่อที่จะเรียนรู้วิธีการอ่านขาไอซี และ วิธีวัดลายไฟเข้าออกขา UEM
  • ไดอะแกรมเส้นทางไฟและสัญญาณนาฬิกา DCT4 แนะนำให้พิมพ์ด้วย กระดาษ A4
  • มิเตอร์ ดิจิตอล สำหรับวัดแรงดันไฟ วัดความต้านทาน และวัดความต่อเนื่องของลายวงจร หรือวัดเส้นทางการนำไฟฟ้า (continuity) ซึ่งมิเตอร์ดิจตอลจะแสดงผลการวัดความต่อเนื่องได้ชัดเจนแม่นยำกว่ามิเตอร์ เข็ม หรือถ้าไม่สะดวกและจำเป็นต้องใช้มิเตอร์เข็มให้ตั้งไปที่ X1 ถ้าลายวงจรเชื่อมต่อกันอย่างต่อเนื่องหรือลายวงจรไม่ขาดเข็มจะกระดิกจนเต็ม สเกล

ขอให้เตรียมสิ่งเหล่านี้ให้ได้ก่อน ขอบอกก่อนนะครับ ถ้าไม่พร้อม 4 อย่างข้างต้น เรียนอ่านลายวงจรยากถึงยากมาก !

รูปที่ 1. ไดอะแกรมเส้นทางไฟ และ สัญญาณนาฬิกา


(Acrobat 1.) รูปของแผงวงจรเปล่า เพื่อดูตำแหน่งใต้ขาอุปกรณ์อย่างชัดเจน และ รูปแผงวงจรที่แสดงเส้นทางจากไฟ VBAT ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ

<a href="http://www.wintesla2003.com/pdf/Media1.pdf" target="_blank">http://www.wintesla2003.com/pdf/Media1.pdf</a>

รูปที่ 2. ลำดับต่อไปเมื่อเอกสารพร้อมแล้ว เราจะมาไล่เส้นทางของไฟเลี้ยงวงจรกัน ดูไดอะแกรมไฟ รูปที่ 1. ควบคู่กับลายวงจร ให้เปิดลายวงจรที่ หน้า 5 สังเกตที่ขั้วแบตเตอรี่ Nokia ทุกรุ่นจะเรียกขั้วแบตเตอรี่ว่า "Battery Connector" จะมี 3 ขา (สำหรับรุ่นเก่าๆจะมี 4 ขา)


รูปที่ 3. ลายวงจรตั้งแต่ขั้วแบตไปจนถึงจดทดสอบหรือจุดวัดไฟบนแผงวงจร


รูปที่ 4. ใช้มิเตอร์ (ตั้งไปที่ตำแหน่งวัดความต่อเนื่องของวงจร) ถ้าวัดได้ถูกต้องจะต้องมีเสียงดังจากมิเตอร์ นั่นหมายความว่าลายวงจรจากขั้วบวกหรือ VBAT ไปจุดทดสอบอีกด้านของแผงวงจรถึงกัน


รูปที่ 5. ลายวงจรจากขั้วบวกหรือ VBAT จ่ายผ่าน " L " ที่ต่ออนุกรม ทั้ง 6 ตัว โดยมี " C " ต่อขนานระหว่างไฟกับ GND ทำหน้าที่กรองแรงดันไฟก่อนเข้าไปเลี้ยง UEM (ดูภาพแผงวงจรใน Acrobat)


รูปที่ 6. ลายวงจรจะเชื่อมต่อจากปลายด้านหนึ่งของ " L " ไปยังขาต่างๆ หลายๆขาของ UEM แต่เนื่องจากผู้ออกแบบลายวงจรเขียนลายวงจร " ละไว้ในฐานที่เข้าใจ " คือลายวงจรที่เขียนไม่ได้เชื่อมต่อกันตลอด แต่จะใช้ชื่อที่เหมือนกันอ้างจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจในจุดนี้ให้ละเอียด เพราะนับจากนี้ไปเราจะพบเทคนิคการเขียนลายวงจรในลักษณะเช่นนี้อีกหลายๆรุ่น แต่เพื่อให้เรามั่นใจว่าลายวงจรถึงแม้ว่าจะเขียนไม่เชื่อมต่อกันแต่ เราจะต้องพิสูจน์โดยการปฏิบัติหรือทำ Work Shop อย่างต่อเนื่องโดยการวัดความต่อเนื่องระหว่างจุดต่อจุดเพื่อพิสูจน์ให้แน่ ชัดว่าถ้าชื่อเหมือนกันลายวงจรจะต้องเชื่อมต่อกัน ในลำดับต่อไป


รูปที่ 7. ลายวงจร (ตัดต่อให้เห็นเส้นทางชัดเจน) จาก VBAT ที่เชื่อมต่อไปยังขา UEM ตามขาต่างๆ ซึ่งจุดนี้แหละ ที่เราจะต้องทำความเข้าใจ รวมทั้งการทำ Work Shop อย่างละเอียด


แต่ ก่อนที่เราจะไล่ลายวงจรอย่างละเอียด และ Work Shop เพื่อวัดไฟจากขั้ว VBAT ไปถึงขา UEM จะต้องมาทำความรู้จักการอ่านขาของ UEM เสียก่อน

รูปที่ 8. ขาไอซี แบบ BGA


เปิดลายวงจรหน้าที่ 9. ซึ่งเป็นหน้าของตำแหน่งการวางอุปกรณ์บนแผงวงจร ขอเรียกหน้านี้ว่า Layout (เลย์เอ๊าท์) ก็แล้วกัน

รูปที่ 9. Layout ตำแหน่งการวางอุปกรณ์


รูปที่ 10. ให้สังเกตจุดมาร์ค หรือจุดกลมๆ บน UEM ซึ่งจุดมาร์คนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการดูตำแหน่งขาไอซีอย่างถูกต้อง


รูปที่ 11. เป็นการเริ่มฝึกหัดนับขาไอซี ในลำดับแรกจะต้องให้จุดมาร์ค อยู่ตำแหน่งซ้ายล่าง ดังรูปด้านล่างก่อนเพื่อจะหาขา A และ 1 ได้อย่างรวดเร็ว และ พร้อมจะนับขาต่อๆไป


รูปที่ 12. นี่ก็เป็นอีก 1 ตัวอย่างสำหรับวิธีเริ่มนับขาไอซีโดยการวางจุดมาร์คของไอซีที่ต้องการนับขาให้อยู่ซ้ายล่าง เพื่อเริ่มหาขา A และ 1


รูปที่ 13. จะเป็นวิธีีนับขาไอซี BGA ซึ่งจุดสำคัญของการนับขาคือการหาตำแหน่งจุดมาร์ค และ การดูตัวอักษรภาษาอังกฤษ ให้สังเกตในรูป ขาของไอซีจะไม่มีตัว " I " และ ตัว " O "


Work Shop การใช้มิเตอร์วัดความต่อเนื่องของวงจร

รูปที่ 14. ให้ใช้มิเตอร์ตั้งเสียงวัด (วัดความต่อเนื่องของลายวงจร) ตั้งแต่ขั้วแบตไปยังขาเข้าของ " L " ทุกตัวตามรูปด้านล่าง ความเป็นจริงเข็มมิเตอร์สามารถสลับเข็มได้ ถ้าวัดความต่อเนื่องของวงจร


รูปที่ 15. ให้ใช้มิเตอร์ตั้งเสียงวัด (วัดความต่อเนื่องของลายวงจร) ตั้งแต่ขั้วแบตไปยังขาออกของ " L " ทุกตัวตามรูปด้านล่าง ความเป็นจริงเข็มมิเตอร์สามารถสลับเข็มได้ ถ้าวัดความต่อเนื่องของวงจร


รูปที่ 16. เมื่อวัดลายวงจรจาก ขั้วบวกหรือ VBAT ไปยังด้านออกของ " L " ได้แล้ว ให้กลับมาดูรูปด้านล่างอีกครั้ง จะเห็นว่าลายวงจรจากขั้วบวกหรือ VBAT จะผ่าน " L " ต่ออนุกรมไปยังขา UEM หลายๆขา


รูปที่ 17. ให้ใช้มิเตอร์ตั้งเสียงวัด (วัดความต่อเนื่องของลายวงจร) ตั้งแต่ขั้วแบตไปยังขาของ " UEM " ทุกขาตามรูปด้านล่าง ความเป็นจริงเข็มมิเตอร์สามารถสลับเข็มได้ ถ้าวัดความต่อเนื่องของวงจร ขณะที่วัดให้ศึกษาลายวงจรตาม รูปที่ 16. ควบคู่การวัดด้วย เพื่อความเข้าใจที่รวดเร็ว


รูปที่ 18. สำหรับท่านที่ใช้แผงเปล่า (ไม่มี " L ") วัดลายวงจร จะวัดจากขั้วบวกหรือ VBAT มาที่ขา UEM โดยตรงไม่ได้ เพราะไม่มี " L " เป็นตัวเชื่อมต่อลายวงจร ดังนั้นจะต้องวัดจาก ขั้วบวก มาที่หัว " L " และยกเข็มจากปลาย " L " ไปที่ขา UEM คือต้องวัดเป็นช่วงๆ


กรณีที่เครื่องเปิดไม่ติดไม่ว่ากรณีใดๆก็แล้วแต่ ถ้าได้ทดลองแฟลชแล้วแฟลชไม่เข้า เกือบร้อย เปอร์เซ็นต์เกิดจาก อาการเสียทาง ฮาร์ดแวร์ ซึ่งวิธีการเช็คฮาร์ดแวร์สำหรับรุ่นนี้ ทำได้ดังนี้

สำหรับ ช่างที่มี จิ๊กเทส ก็ให้เอาบอร์ด วางบนจิ๊กเทส ล๊อกขาให้แน่น จ่ายไฟ 3.7- 3.8 โวล์ท จากซัพพลาย ตามรูปด้านล่าง ในเบื้องต้นสังเกตการกินกระแสจากซัพพลายก่อน ถ้า กระแสยังนิ่งอยู่ที่ " 0.00 " แสดงว่า ไฟ VBATT ก่อน เข้า UEM และ PA ไม่ชอร์ต ให้ ทำขั้นตอนต่อไป



สำหรับ ช่างที่ไม่มีจิ๊กเทส ไม่ต้องกังวล เพียง คีบสาย 3 เส้นตามรูปด้านล่าง ก็สามารถ เช็คอาการเสียได้เหมือนกัน เพียงแต่เวลาคีบ ขั้ว บวก และ ขา 2 (BSI) ต้องระวังชอร์ต แต่ไม่เป็นไร ถ้าชอร์ต ชุดจ่ายไฟ (โดยทั่วไปจะตัดอัตโนมัติ) ให้ขยับปากคีบใหม่อย่าให้ชอร์ตกันอีก ในเบื้องต้นสังเกตการกินกระแสจากซัพพลายก่อน ถ้า กระแสยังนิ่งอยู่ที่ " 0.00 " แสดงว่า ไฟ VBATT ก่อน เข้า UEM และ PA ไม่ชอร์ต ให้ ทำขั้นตอนต่อไป



ลำดับ ต่อไปให้ใช้มิเตอร์วัด " L " หรือคอยล์ตามรูปด้านล่าง ทั้ง 6 ตัว จะต้องได้แรงดันไฟ เท่ากับ ซัพพลาย คอยล์ทั้ง 6 ตัวนี้มีไฟจาก ซัพพลาย หรือ แบตเตอรี่ (VBATT) ผ่านเข้าไปเลี้ยง UEM แยกไปจ่ายทั้ง ภาค เบสแบนด์ ที่ขา VBATBB1 -5 และภาควิทยุ ที่ขา VBATVR1 -7 ถ้าวัดไฟที่ คอยล์ทั้ง 6 ตัวนี้ไม่ครบตัวใดตัวหนึ่ง โดยเฉพาะไฟที่ไปเลี้ยงขา VBATBB1 -5 ก็จะทำให้เครื่องเปิดไม่ติด ต้องแก้ไขที่ คอยล์ หรือเช็คลายวงจรไป UEM ก่อน แต่ถ้าวัดไฟครบทั้งหมดที่คอยล์ทั้ง 6 ตัว ให้ทำขั้นตอนต่อไป





คลิกดูรูป ลายวงจร ไฟ จากแบตเตอรี่ จ่ายให้กับ UEM ผ่าน คอยล์ ( L ) ทั้ง 6 ตัว

ลำดับ ต่อไป เมื่อวัดไฟจากคอยล์ครบแล้ว ให้วัดไฟที่สวิทช์ ด้านขวา ตามรูปด้านล่าง จะต้องได้แรงดันไฟต่ำกว่า ซัพพลายนิดหน่อย เช่น ไฟซัพพลาย 3.7 V ที่สวิทช์ก็จะวัดได้ประมาณ 3.6 V กว่านิดหน่อย หรือไฟที่ซัพพลาย 3.8 V ที่ สวิทช์จะวัดไฟได้ประมาณ 3.7 V กว่านิดหน่อย ถ้าวัดไม่ได้เลยหรือไฟต่ำกว่าที่กำหนดมาก ๆให้เช็ค รีซิสเตอร์ ( R306) ข้างขวาของสวิทช์ ว่าลายขาดมั๊ย หรือความต้านทานได้ 27 K มั๊ย หรือวัดถ้าลายไม่ขาด เบื้องต้น UEM น่าจะเสีย หรือ ลายไฟจากขา P7 ผ่าน R306 ขาด ต้องต่อลายจาก R 306 ไปยังจุดต่อ 3 จุด จุดใดจุดหนึ่งก็ได้ ตามรูปด้านขวาล่าง แต่ถ้าวัดไฟได้ตามกำหนดให้ลองกด สวิทช์ดู พร้อมกับใช้เข็มของมิเตอร์จี้ไปที่ขาขวาของสวิทช์ สังเกตแรงดันไฟจากมิเตอร์ ถ้าแรงดันไฟตกลงไปที่ 0 โวลท์ แสดงว่า สวิทช์ปกติ และวงจร PWRONX ของ UEM ที่จ่ายไฟเลี้ยงให้สวิทช์ปกติ ให้ทำขั้นตอนต่อไป


ลำดับ ต่อไปให้ทดลองกดสวิทช์ค้างไว้เหมือนตอนเปิดเครื่อง วิธีนี้จะเป็นการ รีเซตหรือกระตุ้นแรงดันไฟจาก UEM ให้ออกมา เพื่อที่เราจะวัดไฟจาก UEM ตามจุดต่างที่ขา " C " หรือ คอนเดนเซอร์ที่ไฟไหลผ่าน ซึ่งไฟหลักๆ ในการทำให้เครื่องเปิดติดคือ ไฟ VANA VIO VFLASH1 VR3 แต่ข้อควรจำคือ ในการกดสวิทช์เปิดเพื่อกระตุ้นให้ UEM จ่ายไฟออกมา UEM จะจ่ายไฟ เหล่านี้ ได้ในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นประมาณ 15-20 วินาที ถ้าเราวัดช้าไฟนี้จะหายไป จะต้องกด สวิทช์เปิดเครื่องใหม่อีกครั้งแล้วเริ่มทำการวัดใหม่ ถ้าวัดไฟนี้ได้ตามกำหนด ตามรูปด้านล่าง ให้วัด PURX และ SLEEPX ที่จุด เทสพอยท์ ข้าง UPP จะได้แรงดันไฟตามที่กำหนดตามรูปด้านล่าง และที่สำคัญ คือ สัญญาณนาฬิกา SLEEPCLK 32.768 KHZ จะต้องวัดด้วย ออสซิลโลสโคป PC สโคป มินิสโคป หรือ มิเตอร์วัดความถี่ หรือฟรีเควนซี่เคาน์เตอร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจุดทั้งหมดเรียกว่า " PUSL " ถ้าวัด ทั้ง 2 จุดหลักนี้ไม่ครบตามกำหนดไม่ว่าจะเป็นไฟ VANA VIO VFLASH1 VR3 หรือ PURX SLEEPX และ Sleep Clock 32.768KHz เพียงจุดใดจุดหนึ่งหรือทั้งหมด เบื้องต้น สรุปได้ว่า UEM เสีย ถ้าลายจาก UEM ไม่ขาด สำหรับสัญญาณนาฬิกา 32.768 KHz ถ้าวัดไม่ได้ ให้ดู คริสตอล B 200 ด้วย และสำหรับ จุดเทสพอยท์ ไฟ SLEEPX ถ้า วัดไฟ VIO VCORE และ ไฟ PURX ได้ตามปกติ แต่วัดไฟ SLEEPX ไม่ออก สรุปว่า UPP เสียครับ แต่สิ่งที่สำคัญ ที่สุดจุดหนึ่งก็คือ สัญญาณนาฬิกา 26 MHz ที่ทำหน้าที่จ่ายสัญญาณนาฬิกาหลักให้กับ CPU โดยคริสตอล 26 MHz ผลิตความถี่ผ่านวงจรขยายความถี่หรือวงจร BUFFER (ไฟเลี้ยงวงจร BUFFER มาจากUEM คือ VR3) ใน MJOELNER เพื่อจ่ายสัญญาณนาฬิกาให้ UPP ถ้าสัญญาณนาฬิกานี้ไม่ออกมาจาก MJOELNER ไปถึง UPP เครื่องก็เปิดไม่ติดเช่นเดียวกัน ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ลองวัดดูนะครับ วิธีนี้เป็นวิธีที่ตรวจสอบ UEM UPP MJOELNER 26 MHz และ 32.768 KHz ได้อย่างแม่นยำ กรณีที่เปิดเครื่องไม่ติด หลังจากที่ผ่านการตรวจสอบกระแสในเบื้องต้น หรือการแฟลช ทุกรูปแบบ แล้ว นอกเหนือจากนี้แล้ว NOKIA รุ่นอื่น ก็ใช้หลักการนี้วัดไฟเพื่อทดสอบ UEM UPP MJOELNER 26 MHz และ 32.768 KHz ได้ทั้งหมด เช่นกัน ถ้ารู้ตำแหน่งอุปกรณ์ที่จะวัดไฟและสัญญาณ นาฬิกา ของ โทรศัพท์ NOKIA แต่ละรุ่น



การจ่ายไฟ VBAT ไป UEM ก่อนเิปิดเครื่อง (DCT4)


1 ความคิดเห็น:

simonmobile กล่าวว่า...

ขอบคุณมากครับ จะติดตาม และเป็นกำลังใจ สำหรับน้ำใจงามๆๆ ครับ

free counters

ติดตามบทความเพือเป็นกำลังใจ

ช่วงหลายเดือนมานี้ไม่มีเวลาลงข้อมูลนะครับหาเงินใช้หนี้ก่อนครับ

รูปภาพของฉัน
เชียงใหม่, สารภี, Thailand
ยินดีต้อนรับชาวช่างทุกท่านที่แวะเข้ามากันนะครับ ทักทายกันหน่อยเป็นกำลังใจให้หาอะไรมาแจกอีก รับซ่อมมือถือ MP3 MP4 PDA รับเปิด ปั้ม ทำลูก กุญแจทุกชนิด กุญแจหาย เข้าร้านไม่ได้ เข้าบ้านไม่ได้ ลืมกุญแจไว้ในรถ เราช่วยได้ ไม่รับงานกลางคืนนะครับ หลัง18.00น.ไม่รับงานนอกสถานที กุญแจติดต่อ คุณกรวัฒน์ 089-5606619 ถนนคนเดินสารภีโทรมาได้นะครับไปอยู่.. ตอนนี้พวกโปรแกรมต่อลายถูกทางเวปฝากลบทิ้ง ยังไม่รู้จะมีเวลาแก้ไขเมื่อไรครับช่วงนี้งานเยอะ.. อาจพอมีความรู้อื่นๆให้ดูอยู่บ้างนะครับไม่ว่ากันนะครับ
Powered By Blogger