ข้อมูลที่ร่วมแบ่งปัน

ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มารู้จัก ตัว C หรือตัวเก็บประจุ ( Condensor หรือ Capacitor) คอนเดนเซอร์ หรือ คาพาซิเตอร์

ตัว C หรือตัวเก็บประจุ ( Condensor หรือ Capacitor) คอนเดนเซอร์ หรือ คาพาซิเตอร์
ตัว C หรือเรียกชื่อเต็ม ๆ คาปาซิเตอร์ หรือ คอนเดนเซอร์ แต่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตัว C หน้าที่หลักๆของมันก็คือ ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้าและคายประจุไฟฟ้า (ปกติหน้าที่มีเยอะกว่านี้นะครับ)
ไม่ต้องสนใจมากนะครับ ว่าภายในมันประกอบไปด้วยอะไร แค่ให้รู้หน้าที่และลักษณะการต่อก็พอแล้ว ตัว C แบ่งออกได้แบบนี้นะครับ


1.ตัว C แบบไม่มีขั้ว สามารถสลับขั้วไปมาได้ จะไม่มีสัญลักษณ์อะไรให้เห็นบนตัว C ตัว C แบบนี้จะมีอยู่มากที่สุดในวงจรโทรศัพท์มือถือ ค่าที่ตัวมันส่วนมากจะมีค่าที่น้อย

2.ตัว C แบบมีขั้ว ไม่สามารถสลับขั้วได้ ยกขึ้นมาด้านไหน เวลาวางก็ต้องวางด้านนั้น จะมีขั้วบวก ขั้วลบชัดเจน ส่วนมากจะมีสัญลักษณ์หรือจุดมาร์คบนตัวมันเลย ในวงจรจะเห็นได้น้อยครับ

หน่วยของมัน ก็คือ ฟารัด (F) ไมโครฟารัด (uF) นาโนฟารัด (nF) และ พิโกฟารัด (pF) โดยสามารถแบ่งออกได้แบบนี้นะครับ ( หน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือ ฟารัด แต่ไม่มีในวงจรของมือถือหรอกครับ )
1000 พิโกฟารัด (pF) เท่ากับ 1 นาโนฟารัด (nF) ชุดนี้มีค่าน้อยมาก
1000 นาโนฟารัด (nF) เท่ากับ 1 ไมโครฟารัด (uF)
1,000,000 ไมโครฟารัด (uF) เท่ากับ 1 ฟารัด ( F )


กาวัดค่าตัว C

สามารถทำการวัดได้ 2 แบบ แต่ละแบบก็วัดได้ไม่เหมือนกัน ไม่ต้องกังวลนะครับ วัดง่าย ( แต่จำไว้นะครับ ต้องวัดนอกวงจรเท่านั้น )
ขึ้นอยู่กับมิเตอร์ดิจิตอลด้วยนะครับ ว่ามิเตอร์ตัวนั้นวัดได้ ต่ำสุด สูงสุดเท่าไร

ถ้าใช้ดิจิตอลมิเตอร์วัด จะวัดได้เฉพาะค่าความจุของตัว C โดยจะบอกเป็นตัวเลขตามค่าของตัวมันเอง (แต่ต้องถอดออกมาวัดนอกบอร์ด)

ถ้าใช้มิเตอร์เข็มวัด เราจะรู้ว่าตัว C มีการความสามารถที่จะเก็บและคายประจุได้ตามคุณสมบัติของตัวมันเอง โดยต้องถอดตัว C ออกมาวัดนอกบอร์ดหรือยกขาข้างใดข้างหนึ่งให้ลอยจากบอร์ดก่อน
โดยการ วัดเราจะต้องทำการวัดอย่างน้อย 2 ครั้ง โดยการสลับสายมิเตอร์ ถ้าตัว C ที่มีสภาพดี เมื่อเราทำการวัดครั้งแรก เข็มมิเตอร์จะขึ้นแล้วลงสู่ที่เดิม เมื่อเราสลับสายมิเตอร์แล้ววัดอีกที เข็มมิเตอร์ก็จะขึ้นมากกว่าครั้งแรกแล้วกลับ
ลงสู่ที่เดิม การวัดตัว C สามารถวัดกี่ครั้งก็ได้ เพราะคุณสมบัติของตัว C มีการคายและเก็บประจุ หากไม่มีการคายประจุ
(การคายประจุคือการทำให้ค่าประจุในตัว C หมดไปโดยการ โหลด หรือทำให้ขั้วของตัว C ทั้ง 2 ข้างแตะ
ถึงกันแต่ถ้าใช้มิเตอร์วัดจะไม่เป็นการคายประจุ)
เพราะฉะนั้นเราสามารถใช้มิเตอร์วัดตัว C กี่ครั้งก็ได้

การวัดตัว C ที่ถูกต้องต้องตั้งค่าที่มิเตอร์ให้ถูกต้องด้วย ก่อนการวัดถ้าเรารู้ค่ามิเตอร์ที่ต้องการวัดกับตัว C แล้ว
ต้องมีการเทียบสอบมิเตอร์ทุกครั้ง โดยการนำปลายสายมิเตอร์ทั้ง 2 ด้านมาชนกัน ( ยังจำกันได้หรือเปล่าครับ )


การอ่านค่าตัว C ใช้หลักการเดียวกับการอ่านค่าตัว R นะครับ ( ลืมหรือยังครับ ถ้าลืมย้อนกลับไปอ่านใหม่ครับ อย่าพึ่งอ่านต่อ )

การอ่านค่าจะคล้ายๆกับ ตัว R ครับ ปกติในวงจรโทรศัพท์จะมีตัว C ประเภทไม่มีขั้วอยู่เยอะ(แล้วก็จะไม่มีค่าบอกที่ตัวมันด้วย เนื่องจากตัวมันเล็ก) แต่ถ้าเป็นตัว C ที่ตัวใหญ่ขึ้นมาหน่อยเช่น ในวงจรของ 3310 (C575)
จะมีค่าบอกที่ตัวของมันเอง คือ 686 ค่าที่อ่านได้คือ 68,000,000 พิโกฟารัด pF (ยังจำการแปลงค่าได้หรือเปล่าครับ) แปลงให้มันอ่านง่ายหน่อยก็คือ 68 ไมโครฟารัด uF ( 1 ไมโครฟารัด เท่ากับ 1 ล้านพิโกฟารัด)
วิธีอ่านก็ คือ 2ตัวหน้าคือ เลข 68 ส่วนตัวที่สาม ก็คือเลข 6 แทนจำนวน ศูนย์ 6 ตัว เช่น ถ้าค่าตัวC คือ 201 ค่าที่อ่านได้ ก็คือ 200 พิโกฟารัด เลขสองตัวแรกคือ 20 เลขตัวที่สามคือ 1 ก็แทนศูนย์ 1 ตัว รวมกันแล้วก็ได้ 200 พอดี
แต่จริงๆ แล้ว ให้อ่านจากค่าลายวงจรเลยง่ายที่สุดครับ (อธิบายมาตั้งนาน) แต่ก็ดีกว่าไม่รู้อะไรเลยจริงหรือเปล่าครับ


ถ้าวัดโดยใช้มิเตอร์เข็มวัด ต้องตั้งค่ามิเตอร์ที่เท่าไร

ถ้าตัว C มีค่าไม่เกิน 1000 พิโกฟารัด (PF) ตั้งมิเตอร์ที่ X10k
ถ้าตัว C มีค่าตั้งแต่ 1000 PF ถึง 1UF ตั้งมิเตอร์ที่ X10k - X1K
ถ้าตัว C มีค่าตั้งแต่ 1 UF ถึง 100 UF ตั้งมิเตอร์ที่ X1k - X100
ถ้าตัว C มีค่าตั้งแต่ 100 UF ถึง 1000 UF ตั้งมิเตอร์ที่ X100 - X10
ถ้าตัว C มีค่าตั้งแต่ 1000 UF ขึ้นไป ตั้งมิเตอร์ที่ X10 - X1

เทคนิค !
ภาษาที่เขาใช้เรียกกัน นะครับ ตัว C แห้ง ก็คือ ค่าความจุในตัวของตัว C ลดลง ประสิทธิภาพการทำงานก็ลดลงด้วย
ตัว C รั่ว ก็คือ ภายในตัว C มีการเสื่อมสภาพจากภายใน ทำให้ แรงดันไฟที่ผ่านตัว C มีการไหลลงกราว เป็นบางส่วน ( เจอบ่อย )
ตัว C ช๊อต ก็คือ ภายในตัว C เกิดการเสื่อมสภาพแบบใช้การไม่ได้แล้ว มีการช๊อตจากขา C ทั้ง 2 ด้าน หรือ ช๊อตจากบวกไปลบ


ลักษณะการต่อของตัว C ภายในวงจรของโทรศัพท์มือถือ
จำไว้ให้ดีนะครับ ! การ ต่อของตัว C ในวงจรโทรศัพท์มีแค่ 2 อย่างเท่านั้นเอง เน้นนะครับ ว่าต้องจำให้ได้ สำคัญกับการเช็คลายวงจรและวิเคราะห์อาการของเครื่องที่เราจะ ซ่อม

การต่อตัว C แบบฟิลเตอร์ ดูรูปประกอบนะครับ แล้วเริ่มดูจากจุดที่ 1 ถึง จุดที่ 3



ตัว C ที่ต่อเป็นแบบ ฟิลเตอร์ เพื่อกรองให้ไฟ DC เดินเรียบ การ ต่อ C ลักษณะนี้เป็นการต่อเพื่อกรองทำให้ไฟ DC เดินเรียบขึ้น การต่อแบบนี้มีขั้ว บวก ขั้วลบ ชัดเจน โดยมากคนทั่วๆไปจะคิดว่า ตัว C เป็นตัวผ่านไฟ DC
แต่จริงๆแล้วการทำงานของมันก็คือ ยอมให้ไฟผ่านได้ชั่วขณะตอนที่เก็บประจุเท่านั้น พอประจุเต็มไฟ DC ก็ไม่สามารถผ่านได้ แล้ว ต้องรอให้ตัวมันเองคายประจุก่อน ถึงจะยอมให้ไฟผ่าน ไม่ต้องจำก็ได้นะครับไม่สำคัญมากเท่าไร

สรุปได้ว่า ถ้าแหล่งจ่ายไฟมา 3 V แล้วผ่านตัว C (ฟิลเตอร์)แล้วตัว C เก็บประจุเต็ม ค่าที่ออกจากตัว C ก็จะเป็น 3 V ไม่มีมากกว่าหรือน้อยกว่าแต่กระแสไฟจะเดินเรียบขึ้น แต่ถ้าเราถอดตัว C นี้ออก ไฟที่ขั้วบวกก็ยังออกอยู่ แต่ไฟ
จะเดินไม่เรียบเท่ากับมีตัว C ต่ออยู่





4 ความคิดเห็น:

supotayan กล่าวว่า...

To........korawat

ขอบคุณทุกๆอย่างสำหรับความรู้ที่มอบให้ใน Web ครับ

ตอนนี้ผมกำลังอ่านทุกอย่างที่คุณเขียนลงใน Webและจะต้อง

มีความรู้เหมือนคุณให้ได้ครับ

ขอบคุณครับ

Toy

กรวัฒน์ กล่าวว่า...

ผมอ่านทั้งหมดแต่ไม่เคยจำได้ทั้งหมดครับ
เลยต้องนำมารวมไว้ในนี้เพื่อง่ายต่อการหาของตัวผมเอง
ขอบคุณครับที่แวะมานำความรู้ไปใช้กัน
ขอบคุณเจ้าของบทความตัวจริงด้วยครับที่มอบความรู้ดีๆ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณมากๆครับสำหรับความรู้

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณมากๆครับสำหรับความรู้

free counters

ติดตามบทความเพือเป็นกำลังใจ

ช่วงหลายเดือนมานี้ไม่มีเวลาลงข้อมูลนะครับหาเงินใช้หนี้ก่อนครับ

รูปภาพของฉัน
เชียงใหม่, สารภี, Thailand
ยินดีต้อนรับชาวช่างทุกท่านที่แวะเข้ามากันนะครับ ทักทายกันหน่อยเป็นกำลังใจให้หาอะไรมาแจกอีก รับซ่อมมือถือ MP3 MP4 PDA รับเปิด ปั้ม ทำลูก กุญแจทุกชนิด กุญแจหาย เข้าร้านไม่ได้ เข้าบ้านไม่ได้ ลืมกุญแจไว้ในรถ เราช่วยได้ ไม่รับงานกลางคืนนะครับ หลัง18.00น.ไม่รับงานนอกสถานที กุญแจติดต่อ คุณกรวัฒน์ 089-5606619 ถนนคนเดินสารภีโทรมาได้นะครับไปอยู่.. ตอนนี้พวกโปรแกรมต่อลายถูกทางเวปฝากลบทิ้ง ยังไม่รู้จะมีเวลาแก้ไขเมื่อไรครับช่วงนี้งานเยอะ.. อาจพอมีความรู้อื่นๆให้ดูอยู่บ้างนะครับไม่ว่ากันนะครับ
Powered By Blogger